Gear oil / Transmission fluid
เกียร์มีหน้าที่ในการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังเพลาขับ ด้วยอัตราทดที่เหมาะกับสภาวะการใช้งาน เกียร์ที่ใช้ในรถยนต์มีสองแบบด้วยกัน คือเกียร์แบบธรรมดา (Manual Transmission) และ เกียร์ออโต้ (Automatic Transmission)
ชนิดของเกียร์
1. เกียร์ธรรมดา(Manual Transmission Gear)
หน้าที่ของน้ำมันเกียร์ธรรมดา(รวมถึงน้ำมันเฟืองท้ายด้วย) คือ
- ลดแรงเสียดทานและสึกหรอ
- ลดเสียงดังและการสั่นสะเทือนในเรือนเกียร์
- ชะล้างเศษโลหะจากหน้าฟันเกียร์ที่เกิดจากการกระเทือน และเสียดสี
- ป้องกันสนิม และการกัดกร่อน
คุณสมบัติของน้ำมันเกียร์ธรรมดาและเฟืองท้าย
- ควรจะมีสารรับแรงกดสูง Additive เคลือบผิวฟันเกียร์
- ทนความร้อนและปฏิกิริยาอ็อกซิเดชัน
- ไม่กัดกร่อนวัสดุในเรือนเกียร์
มาตรฐานน้ำมันเกียร์
มาตรฐานด้านความหนืด SAE
- แบบเกรดเดี่ยว #90, #140
- และมัลติเกรด # 80W-90, #80W140
มาตรฐานสมรรถนะ API
- GL1 = รถที่ใช้ Spiral bevel & worm gear axles (เฟืองตัวหนอน) ใช้งานเบา เป็นน้ำมันแร่ อาจเติมสารกันฟอง
- GL-2 = ใช้กับเฟืองตัวหนอน ทำงานรับน้ำหนักและความร้อนสูงกว่า GL-1
- GL-3 = เกียร์ธรรมดา และ Spiral bevel axles
- GL-4 = ไฮปอยด์เกียร์ ทำงานใต้สภาวะ ความเร็วสูง แรงบิดต่ำ หรือ ความเร็วต่ำแต่แรงบิดสูง
- GL-5 = ไฮปอยด์เกียร์ ทำงานใต้สภาวะ ความเร็วต่ำ แต่มีการกดดันสูง แรงบิดสูง หรือ ความเร็วสูง แรงบิดต่ำ
2. เกียร์อัตโนมัติ(Automatic Transmission Gear)
ระบบการทำงานของเกียร์อัตโนมัติที่แตกต่างจากเกียร์ธรรมดาตรงที่ใช้ตัว “ทอร์คคอนเวอร์เตอร์” ในการตัดต่อการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปที่เกียร์แทนชุดคลัทซ์ หลักการก็เหมือนกับมีพัดลม 2 อัน อันหนึ่งเปิดไว้เอามาเป่าให้อีกอันหนึ่งหมุนตามทำให้เกิดการส่งกำลังได้ทำให้สามารถเข้าเกียร์ได้โดยเครื่องไม่ดับขณะเครื่องเดินเบาและรถจอดนิ่งเหยียบเบรคไว้ โดยใช้ของเหลวเป็นตัวส่งกำลังด้วยความหนืด มีการเปลี่ยนอัตราทดด้วยชุดเฟือง Planetary Gear ซึ่งมีการถ่ายทอดกำลังงานไม่ราบเรียบนุ่มนวลเท่าที่ควร
น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ นั้น จะทำหน้าที่
- ส่งถ่ายกำลังในระบบ Torque converter
- หล่อลื่นป้องกันการสึกหรอในชุดเกียร์
- หล่อลื่นระบบคลัชต์เปียก
- เป็นน้ำมันไฮโดรลิกในระบบสมองกลควบคุมการทำงานของเกียร์
- ระบายความร้อนในเรือนเกียร์
คุณสมบัติที่ควรมีก็คือ
- มีความหนืดเหมาะสม
- ทนทานต่อแรงเฉือน
- ทนความร้อนและปฏิกิริยาอ็อกซิเดชัน
- ป้องกันการเกิดฟอง
- ต้านความฝืดได้อย่างเหมาะสม
มาตรฐานน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ Dexron
- Dexron IID ,Dexron IIE (พัฒนาขึ้นจาก IID เพิ่มการต้านทานความฝืด ป้องกันการสึกหรอได้ดีขึ้น)
- Dexron III
- นอกจากนี้ยังมีของฟอร์ด 13 2 C-33 C/D , 33F, 33G Alison C3 , C4 และแม้แต่ Caterpillar TO-2 , TO-4
3. เกียร์ CVT
เกียร์ CVT (Continuously Variable Transmission) เป็นระบบเกียร์แบบแปรผันที่เปลี่ยนแปลงการทำงานตามกำลังที่ส่งมาจากเครื่องยนต์ ระบบเกียร์มีการทำงานร่วมกันระหว่างลูกรอกขับ (drive pulley) กับลูกรอกกำลัง (driven pulley) ให้สอดคล้องกับอัตราเร่งและรอบของเครื่องยนต์ โดยอาศัยสายพาน(สายพานยาง หรือสายพานโลหะ) เป็นตัวถ่ายทอดกำลังระหว่างลูกรอก การเปลี่ยนเกียร์อาศัยการปรับอัตราทดของลูกรอกแทนชุดเฟือง ที่ควบคุมด้วยระบบไฟฟ้าหรือไฮดรอลิกทำให้มีความนุ่มนวลราบเรียบไร้รอยต่อ หรือไม่มีแรงกระชากให้เห็น
น้ำมันเกียร์ออโต้แบบ CVT มีค่าความหนืดไม่เท่ากับน้ำมันเกียร์ AUTO แบบธรรมดา จึงไม่ควรเอามาใช้ปนกัน
4. เกียร์คลัตช์คู่ DCT (Dual-Clutch Transmission)
ระบบเกียร์ DCT รับกำลังจากเครื่องยนต์ผ่านชุดคลัทช์ 2 ชุดเช่นกัน (Dual-clutch) และเปลี่ยนอัตราทดด้วยชุดเฟือง 2 ชุด ระบบเกียร์แบบนี้มีสามารถรองรับการถ่ายทอดกำลังงานจากเครื่องยนต์ได้อย่างรวดเร็ว และทำการเปลี่ยนเกียร์ได้รวดเร็ว
มีใช้ในรถ Volkswagen, Porsche, Audi, Ferrari, Lamborghini เป็นต้น รถแต่ละแบนด์อาจเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป