วิธีเปลี่ยนน้ำยาหล่อเย็น วีโก้

ซ่อมบำรุงรถยนต์

วิธีเปลี่ยนน้ำยาหล่อเย็น วีโก้(VIGO)

วิธีเปลี่ยนน้ำหล่อเย็นวีโก้
วิธีเปลี่ยนน้ำหล่อเย็นวีโก้

 

ขั้นตอนที่1 เปิดฝาหม้อพักน้ำ

ขั้นตอนที่2 คลายปลั๊กระบายบนหม้อน้ำ  โดยใช้ลูกบ๊อกซ์ขันสี่เหลี่ยม ขนาด 10มิล

ลูกบ๊อกซ์สี่เหลี่ยม
ลูกบ๊อกซ์ขันสี่เหลี่ยม

ขั้นตอนที่3 ถ่ายน้ำออกจากหม้อน้ำ โดยการคลายปลั๊กถ่ายน้ำที่อยู่ด้านใต้หม้อน้ำ

วิธีเปลี่ยนน้ำหล่อเย็นวีโก้-ปลั๊กระบาย
วิธีเปลี่ยนน้ำหล่อเย็นวีโก้-ปลั๊กระบาย

 

ขั้นตอนที่4 ระบายน้ำออกจากเสื้อสูบ โดยการคลายน๊อตถ่ายน้ำเสื้อสูบ(รูปศรสีเขียว) ที่อยู่บริเวณใต้ฐานไส้กรองน้ำมันเครื่องตามรูปด้านล่าง และใช้สายยางต่อกับหัวเสียบที่อยู่ใกล้ๆกับน๊อต(ที่วงกลมไว้) เพื่อระบายน้ำลงในภาชนะที่เตรียมไว้

วิธีเปลี่ยนน้ำหล่อเย็นวีโก้-ปลั๊กถ่ายน้ำเสื้อสูบ
วิธีเปลี่ยนน้ำหล่อเย็นวีโก้-ปลั๊กถ่ายน้ำเสื้อสูบ

เมื่อน้ำหล่อเย็นเก่าไหลออกจนหมดแล้ว

1. ให้ปิดปลั๊กถ่ายน้ำเสื้อสูบ

2. ปิดปลั๊กถ่ายน้ำที่อยู่ด้านใต้หม้อน้ำ

3. เติมน้ำยาหล่อเย็นใหม่ลงในกระป๋องพักน้ำจนเต็มหม้อน้ำ

4. สตาร์ทเครื่องยนต์ จนกระทั่งวาล์วน้ำเปิด(ประมาณ5-10นาที) น้ำยาหล่อเย็นจะไหลวนเข้าเครื่องยนต์ทำให้ระดับลดลงไป ให้ค่อยๆเติมน้ำหล่อเย็นเพิ่มเข้าไป จนกระทั่งน้ำหล่อเย็นไม่ลดลงอีก

5. ปิดปลั๊กระบาย

6. ปิดฝาถังพักน้ำ

เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน  ในช่วงแรกๆ ให้หมั่นตรวจสอบระดับน้ำให้อยู่ในขีดที่กำหนด (ไม่เกินขีด F) หากเกินขีน F ให้คลายปลั๊กถ่ายน้ำล่างหม้อน้ำเพื่อระบายน้ำหล่อเย็นออกให้อยู่ในระดับ F หรือเติมน้ำยาหล่อเย็นเพิ่มเข้าไปหากระดับน้ำหล่อเย็นลดลงต่ำกว่าขีด F ด้วยนะครับ

เครดิตภาพจาก vigothailand.com, https://phithan-toyota.com

วิธีเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง รถยนต์ ISUZU D-MAX รุ่นปี 2007-2011 by Yai6000

ไส้กรองน้ำมันเครื่องรถยนต์

โดยปกติตามข้อแนะนำของศูนย์บริการ ต้องทำการเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง ทุกๆ 80,000 Km. ตามวงรอบการบำรุงรักษา เพื่อคงประสิทธิในการใช้งานสูงสุดเอาไว้ เนื่องจากไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเสมือนหน่วยคัดกรองสิ่งสกปรก ไม่ให้สามารถเข้าไปในระบบปั้มน้ำมันเชื่อเพลิงได้ ส่วนรถใครที่เลยการรับประกัน 3 ปี หรือ 100,000 Km. แล้ว ยังไม่เคยเปลี่ยนสักที แนะนำว่าถ้าไม่ติดขัดอะไร อยากให้เปลี่ยนสักครั้งนึง ถ้าจะมองในแง่ของความสิ้นเปลือง กรณีที่ของยังใช้ได้ไปเปลี่ยนมันทำไม จริงครับ มันเปลืองแต่ถ้าวันนึง ไส้กรองมันตัน วิ่งไม่ออก แต่ต้องใช้รถเพื่อทำเวลา แล้วจะบอกว่ารู้งี้เปลี่ยนตั้งนานแล้ว
ความเห็นส่วนตัว ผมแนะนำให้เปลี่ยนทุกๆ ระยะ 50,000 Km. ครับ

คำเตือน : ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยตนเอง ควรที่จะต้องทำการเช็คระบบก่อนว่าปั้มติ๊กในถัง ยังทำงานปกติดี สามารถทำการดันน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาได้ไหม ? ถ้าเช็คแล้วพบว่าปั้มติ๊กมีปัญหาอย่าฝืนทำงานต่อไป เพราะว่าเปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิงได้ แต่สตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ได้ก็เท่านั้น

วิธีการเช็คปั้มติ๊ก คลายสกรูไล่ลมเอาไว้ เพื่อที่จะทำการไล่ลมออกมาจากกรองน้ำมันเชื้อเพลิงวิธีการ คือ บิดสวิตช์กุญแจ ON 15 วินาที บิดกลับไปที่ OFF 15 วินาที เพื่อให้ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิงทำงานทำสลับไปเรื่อยๆ จนกว่าน้ำมันดีเซลจะล้นออกมาทางสกรูไล่ลม แสดงว่าปั้มติ๊กทำงานได้ตามปกติดีจากนั้น ค่อยดำเนินการถอดไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาเปลี่ยนต่อไป

dmax02

1. ทำการเตรียมเครื่องมือ และอะไหล่ดังรูปครับ จากรูปจะเห็นว่ามีประแจพิเศษอยู่อันนึงถ้าไม่มีอันนี้ แนะนำให้ใช้ประแจเลื่อน ก็พอแก้ขัดได้ครับ อย่าบีบแรง เดี๋ยวเสื้อกรองมันจะแตกเพราะว่ามันเป็นพลาสติก ราคาเสื้อกรอง 525 บาท บวก Vat   P/N : 8-98048537-0 ที่เรารู้ก็เพราะว่าเคยซื้อมาแล้ว อะไหล่ตัวนี้ 555 Continue reading

ระบบปรับอากาศในรถยนต์ [Auto Air Conditioning Systems]

ระบบปรับอากาศในรถยนต์ (Air Conditioning System)

ระบบปรับอากาศในรถยนต์ (Air Conditioning System)

ระบบแอร์ในรถยนต์

การทำงานของระบบปรับอากาศในรถยนต์

เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงาน ก็จะทำการดูดน้ำยาแอร์ ที่มีสภาพเป็นก๊าซเข้ามาอัดความดัน และอุณหภูมิให้สูงขึ้น จากนั้นส่งไปตามท่อทางออกของคอมเพรสเซอร์ เข้าสู่คอยล์ร้อน ที่แผงคอยล์ร้อน จะทำหน้าที่ระบายความร้อนของก๊าซเหล่านี้ออกไปตามครีบระบายความร้อน จนกระทั่งก๊าซเหล่านี้จะกลายเป็นของเหลวที่มีความดันสูง ไหลออกจากคอยล์ร้อน ผ่านท่อทางออก ไปเข้าสู่ถังพักน้ำยาแอร์ เพื่อกรองสิ่งแปลกปลอม และดูดความชื้นไปด้วย ขณะนี้น้ำยาแอร์ มีสภาพเป็นของเหลว และความดันสูง ไหลออกจาก ถังพักน้ำยาแอร์ ไปตามท่อเข้าสู่ วาล์วปรับความดัน

วาล์วปรับความดัน จะลดความดันของน้ำยาแอร์ลงมา ทำให้อุณหภูมิของน้ำยาแอร์ ลดต่ำลงอย่างมาก เพื่อป้อนเข้าสู่คอยล์เย็น ของเหลวความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำ ไหลเข้าสู่คอยล์เย็น ก็จะทำการดูดซับ ความร้อนที่บริเวณรอบๆ ตัวซึ่ง พัดลม (Blower) ก็จะทำหน้าที่ดูดอากาศในห้องโดยสาร ผ่านแผงคอยล์เย็น ผ่านทางท่อลม จนออกไปจากช่องปรับอากาศ ด้านหน้าคอนโซล อากาศร้อนในห้องโดยสาร จะถูกดูดซับออกไปด้วยวิธีนี้

ทางด้านน้ำยาแอร์ ก็จะทำการดูดซับความร้อนวนเวียนอยู่ตามท่อทางเดิน ที่ขดไปมาบนแผงคอยล์เย็น จนแปรสภาพ กลายเป็นก๊าซ ไหลออกจากคอยล์เย็นไปตามท่อ เข้าสู่คอมเพรสเซอร์อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นกระบวนการ อัดความดันน้ำยาแอร์ใหม่อีกรอบ เหตุการณ์แบบนี้ จะเกิดวนเวียนไปเรื่อยๆ จนกว่าคอมเพรสเซอร์ จะหยุดการทำงาน

ระบบปรับอากาศในรถยนต์ จะใช้อุปกรณ์ต่าๆ ที่สำคัญดังนี้

  • คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
  • คอยล์ร้อน (Condenser)
  • ถังพักน้ำยา-กรองและดูดความชี้น (Filter-Dryer Receiver)
  • วาล์วลดความดัน (Expansion Valve)
  • คอยล์เย็น (Evaporator)
  • น้ำยาแอร์ (Refrigerant)

คอมเพรสเซอร์ (Compressor)

คืออุปกรณ์ส่วนที่ทำหน้าที่เพิ่มความดัน ของน้ำยาแอร์ในระบบให้สูงขึ้น เพื่อส่งต่อไปให้กับคอยล์ร้อน คอมเพรสเซอร์ที่ใช้กับรถยนต์ อาจพบได้ 2 แบบคือ แบบลูกสูบ (Piston Compressor) และแบบ โรตารี่ (Rotary Compressor) ซึ่งรถยนต์ปัจจุบันส่วนมาก ใช้คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่

คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์
คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์

คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ที่ใช้กันส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ ติดตั้งอยู่บริเวณเครื่องยนต์ จะทำงานได้ต่อเมื่อ ได้รับแรงหมุนจากเครื่องยนต์ ผ่านมา ทางสายพาน คล้องไว้กับพูลเล่ย์ และจะมีคลัทช์แม่เหล็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพูลเล่ย์ อยู่บนแกนกลางเพลาหมุน ของคอมเพรสเซอร์ ในกรณีที่เครื่องยนต์หมุน แรงหมุนของเครื่องยนต์ จะถูกส่งผ่านสายพานมาหมุนพูลเล่ย์ แต่คอมเพรสเซอร์ยังไม่ได้ทำงาน

เมื่อเราเปิดสวิตช์แอร์ในห้องโดยสาร ไปยังตำแหน่ง “ON” กระแสไฟจากแบตเตอรี่ จะไปทำให้คลัทช์แม่เหล็ก ดูดยึดติดกับพูลเล่ย์ จึงส่งผลให้ แกนเพลาหมุนของคอมเพรสเซอร์ ไปจับยึดติดกับพูลเล่ย์ จากจุดนี้ ทำให้ คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงาน เมื่ออุณหภูมิในห้องโดยสาร เริ่มเย็นลงตามที่ต้องการแล้ว เซนเซอร์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) จะทำงานโดยไปตัดสวิตช์ ส่งผ่านไฟฟ้าที่คลัทช์แม่เหล็ก ทำให้คลัทช์แม่เหล็กกับพูลเล่ย์ แยกจากกัน คอมเพรสเซอร์จึงหยุดทำงาน แต่ในกรณีที่เราปิดสวิตช์ แอร์ในห้องโดยสาร ก็คือ การทำให้คลัทช์แม่เหล็กนี้ แยกจากพูลเล่ย์นั่นเอง

คอยล์ร้อน (Condenser)

มีลักษณะเป็นแผงรับอากาศขนาดพอๆ กับหม้อน้ำรถยนต์ มีทางเข้า และทางออกของน้ำยาแอร์ ถูกออกแบบมาให้มีท่อน้ำยาแอร์ ขดไปมาบนแผงดังกล่าว ผ่านครีบระบายความร้อน ซึ่งมีลักษณะ คล้ายครีบระบายความร้อนของหม้อน้ำ คอยล์ร้อน จะติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ารถยนต์ คู่กับหม้อน้ำ และมีพัดลมไฟฟ้าช่วยระบายความร้อน

คอยล์ร้อน (Condenser)
คอยล์ร้อน (Condenser)
คอยล์ร้อน (Condenser)
คอยล์ร้อน (Condenser)

รูทางเข้าของคอยล์ร้อน จะต่อท่อร่วมกับรูทางออกของคอมเพรสเซอร์ ส่วนรูทางออกของคอยล์ร้อน จะต่อท่อร่วมกับรูทางเข้าถังพักน้ำยา-กรองและดูดความชื้น(Dryer) Continue reading

วิธีการดูแลและบำรุงรักษาแบตเตอรี่

บำรุงรักษาแบตเตอรี่

วิธีการดูแลและบำรุงรักษาแบตเตอรี่

แบตเตอรี่มีหน้าที่เก็บกระแสไฟฟ้าไว้ในรูปแบบของพลังงานเคมี ไว้จ่ายให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในรถยนต์ กระแสไฟในแบตเตอรี่จะถูกเติมโดยอุปกรณ์ที่เรียกว่าไดชาร์ท หรืออัลเตอร์เนเตอร์ ในขณะที่เครื่องยนต์ยังไม่ทำงานนั้น กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในรถยนต์จะถูกดึงจากแบตเตอรี่ที่เดียว แต่เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน กระแสไฟฟ้าที่นำมาใช้จะถูกดึงจากไดชาร์ทแทน ถ้าไดชาร์ทผลิตกระแสไฟออกมาไม่เพียงพออุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ก็จะดึงกระแสไฟจากแบตเตอรี่มาใช้งานด้วย

แบตเตอรี่มีหน้าที่ต้องจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

  1. ช่วยให้มอเตอร์สตาร์ททำงาน
  2. ช่วยสร้างประกายไฟที่หัวเทียน เพื่อใช้ในการจุดระเบิด (เครื่องยนต์เบ็นซิน)
  3. จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์แสงสว่างต่างๆ เช่น หลอดไฟ
  4. จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นฯ เช่น รีเลย์ กล่องสมองกล เครื่องเสียงรถยนต์

การตรวจเช็คและข้อสังเกตุ

  1. แบตเตอรี่ลูกใหม่ จะต้องเติมน้ำกรดเป็นครั้งแรก
  2. การเติมแบตเตอรี่เมื่อน้ำกรดแห้งลง จะต้องเติมด้วยน้ำกลั่นเท่านั้น เพื่อไม่ให้ความค่าความถ่วงจำเพาะในน้ำกรดมากเกินไป
  3. ระดับน้ำกรดไม่ควรอยู่ต่ำกว่าขีดล่าง และไม่เกินขีดบนของแบตเตอรี่
  4. ต้องเปิดฝาแบตเตอรี่ออกตรวจเช็คและเติมทุกช่อง เพราะแต่ละช่องของแบตเตอรี่นั้นมีแผ่นกั้นไม่ถึงกัน
  5. ฝาจุกปิดจะมีรูหายใจ ให้ตรวจเช็คด้วยว่าไม่ได้อุดตัน ถ้าอุดตันแบตเตอรี่เกิดระเบิดขึ้นได้
  6. ห้ามนำประกายไฟเข้าใกล้เป็นอันขาด (แบตเตอรี่อาจระเบิดได้ เพราะมีแก็ส)
  7. ที่ขั้วบวกของแบตเตอรี่จะต้องมีฉนวนหุ้มด้วย ป้องกันขั้วแบตเตอรี่ชนกับฝากระโปรงรถ เป็นเหตุให้แบตเตอรี่ได้รับความเสียหาย
  8. ขั้วบวกของแบตเตอรี่จะใหญ่กว่าขั้วลบเสมอ (ป้องกันความผิดพลาดในการใส่)
  9. ห้ามต่อกระแสไฟจากแบตเตอรี่ไปใช้โดยตรง โดยไม่ผ่านฟิวส์เป็นอันขาด (ไฟอาจไหม้รถท่านได้)
  10. น้ำกรดในแบตเตอรี่ มีสภาพเป็นกรด ระมัดระวังอย่าให้ถูกเสื้อผ้า ถ้ากระเด็นใส่ให้รีบนำไปซักทันที

การเลือกซื้อน้ำกลั่น

  1. เลือกซื้อน้ำกลั่นที่มีชื่อที่อยู่ของบริษัทผู้ผลิตพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ อย่างถูกต้อง
  2. ปัจจุบันนี้มีน้ำกลั่นวางจำหน่ายในท้องตลาดอยู่สองแบบ คือ
    • น้ำกลั่นธรรมดา
    • น้ำกลั่นที่เติมน้ำยาเคมีอีเลคโตรไลท์ชนิดไม่มีกรด ซึ่งมีคุณสมบัติดีกว่าน้ำกลั่นธรรมดา
      – เคลือบประสานแผ่นธาตุ ป้องกันการผุกกร่อน
      – ยืดอายุและช่วยให้แบตเตอรี่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
      – ช่วยให้น้ำกรดแห้งช้าลง

การตรวจดูท่อยางและสายอ่อนต่างๆ

เช็คท่อยางรถยนต์

ตรวจดูท่อยางและสายอ่อนต่างๆ

ท่อยางใช้ในส่งถ่ายของเหลวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อาจจะเป็นน้ำธรรมดา น้ำมันเครื่อง น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันไฮดรอลิก หรืออาจจะใช้ส่งถ่ายในรูปของอากาศ ก๊าซ ไอ ก็ได้ ซึ่งมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน ในการเลือกใช้จึงควรเลือกใช้ตามความเหมาะสม สาเหตุที่ไม่ใช้ท่อเหล็ก เพราะว่า ท่อยางมีความยืดหยุ่นสูงกว่า บางตำแหน่งจะต้องสามารถให้ตัวได้ เช่น ท่อยางหม้อน้ำกับเครื่องยนต์ สายอ่อนเบรก ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับมัน ให้มากเป็นพิเศษ เพราะหมายถึงชีวิต และเงินทองที่ต้องสูญเสียไปโดยใช่เหตุ

ท่อยางหม้อน้ำรถยนต์
ท่อยางหม้อน้ำรถยนต์

การตรวจสอบท่อยาง

  1. การบวมของท่อยาง
  2. รอยฉีกขาด
  3. การงอพับของท่อยาง
  4. รอยรั่ว

ลักษณะของท่อยางและสายอ่อน ที่นำมาใช้ในรถยนต์

  1. ท่อยางหม้อน้ำ บน-ล่าง
  2. ท่อยางคอถังน้ำมัน
  3. ท่ออากาศ (ส่งอากาศจากหม้อกรองอากาศเข้าเครื่องยนต์)
  4. ท่อหายใจ
  5. ท่อออยคูลเล่อร์
  6. ท่อเพาเวอร์
  7. ท่อปั๊มน้ำ
  8. ท่อไออุ่น
  9. สายอ่อนเบรกหน้า-หลัง (ใช้ในการส่งผ่านน้ำมันเบรกจากท่อแป๊ปทองแดงหรือเหล็กไปเข้ากระบอกเบรกหรือดิสเบรก)
  10. สายอ่อนคลัตช์
  11. สายตูดได ( เป็นสายที่สามารถทนแรงดันได้สูง มีข้อต่ออยู่ที่หัวท้าย)
  12. ท่อตูดได

13 อุปกรณ์เครื่องมือที่ควรมีติดรถไว้ใช้ยามฉุกเฉิน

เครื่องมือประจำรถยนต์

อุปกรณ์เครื่องมือประจำรถ(Car tools)

อุปกรณ์เครื่องมือที่ควรมีติดประจำรถไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน

  1. สายพ่วงแบตเตอรี่
    สายพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์
  2. เบอร์โทรศัพท์ติดต่อฉุกเฉินต่างๆ เช่น บริการลากรถ, ช่างประจำ(ถ้ามี) ฯลฯ
    เบอร์โทรฉุกเฉิน
  3. ฟิวส์สำรอง (สำคัญมาก)
    ฟิวส์รถยนต์
  4. สายสลิงลากรถ
    Car Tow Cable
  5. หลอดไฟหน้า, หลอดไฟเบรก, หลอดไฟเลี้ยว
    หลอดไฟรถยนต์
  6. เทปพันสายไฟ(insulating tape), สายไฟ
    เทปพันสายไฟ
  7. เครื่องมือประจำรถ (ประแจ-ไขควงต่างๆ, กากบาทขันน๊อตล้อ)
    เครื่องมือประจำรถยนต์
  8. ไฟฉาย
    ไฟฉาย
  9. สเปรย์ครอบจักรวาล (ใช้คลายน๊อต, ไล่ความชื้น-จานจ่าย- หัวเทียน-คอยล์, หล่อลื่นบานพับต่างๆ)
    สเปรย์ครอบจักรวาล
  10. น้ำมันเบรก-คลัตช์
    น้ำมันเบรค
  11. ปั๊มลมแบบใช้ขาเหยียบ  (มีประโยชน์มากเวลายางล้อรั่วซึม)
    ปั๊มลม
  12. เกจ์วัดลมยาง (tire pressure guage)
    เกจวัดแรงดันลมยาง
  13. มีดคัตเตอร์
    มีคัตเตอร์อเนกประสงค์

 

การดูแลรักษาหม้อน้ำ และฝาหม้อน้ำ (car radiator cap)

ฝาหม้อน้ำรถยนต์

การดูแลรักษาหม้อน้ำ และฝาหม้อน้ำ

หม้อน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ระบายความร้อนให้กับน้ำที่ไปหล่อเย็นให้กับเครื่องยนต์ โดยอาศัยปั๊มน้ำเป็นตัวหมุนเวียนน้ำ โดยน้ำจะไหลเข้าด้านล่าง (ท่อยางหม้อน้ำล่าง) ซึ่งท่อน้ำจะต่ออยู่กับคอห่านตัวล่าง แล้วไหลผ่านโพรงต่างๆ ในเครื่องยนต์ กลับออกมาที่ด้านบน (ผ่านท่อยางหม้อน้ำบน) ซึ่งต่ออยู่กับคอห่านตัวบน กลับมาที่หม้อน้ำอีกครั้งหนึ่ง โดยมีวาล์วน้ำ (เทอร์โมสตัท) ในการควบคุมอุณหภูมิของน้ำ

ในขณะที่ยังไม่ถึงอุณหภูมิที่กำหนด เพื่อให้น้ำในระบบร้อนเร็วขึ้นเพื่อลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ และในขณะที่ความดันเกินที่กำหนด น้ำในระบบก็จะดันออกถังพักน้ำผ่านฝาหม้อน้ำ และเมื่อความดันลดต่ำลง น้ำก็จะถูกดูดกลับจากถังพักน้ำเข้ามาใหม่ ในสภาพสุญญากาศ ในส่วนของความร้อนของน้ำ จะถูกระบายความร้อนโดยการไหลผ่านรังผึ้งของหม้อน้ำ และอาศัยพัดลมซึ่งขับเคลื่อนโดยพลังงานจากเครื่องยนต์ในกรณีที่เครื่องยนต์วางตามยาวตัวรถ (รถที่ขับเคลื่อนล้อหลัง) โดยความเร็วของพัดลมจะถูกควบคุมโดยฟรีปั๊ม (คลัตช์พัดลมหม้อน้ำ)

ในฟรีปั๊มจะเติมด้วย น้ำยาซึ่งมักเรียกกันว่า น้ำยาฟรีปั๊ม (Oil Silicon) ส่วนรถที่วางเครื่องตามขวางจะใช้พัดลมไฟฟ้าทำหน้าที่แทน (รถที่ขับเคลื่อนล้อหน้า) โดยอาศัยสวิทส์พัดลม (ตรวจจับอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นที่ไหลกลับออกมา) ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของตัวพัดลม นอกจากนี้ในเครื่องยนต์อาจจะมีช่องที่ให้น้ำไหลออกไปเพื่อให้ความ อบอุ่นกับผู้ใช้รถในห้องโดยสาร (ในเมืองที่หนาว) สำหรับในเมืองร้อนจะใช้ยางอุดไว้ และมักเรียกกันว่า ยางอุดตาน้ำ บางท่านก็เรียกยางรองขาโต๊ะก็มี

 

ตรวจเช็ครถยนต์

สิ่งที่ควรตรวจสอบเป็นประจำคือ

    1. ท่อยางหม้อน้ำบน-ล่าง (ท่อน้ำบนจะมีอายุสั้นกว่าท่อน้ำล่าง เพราะอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า) ท่อน้ำที่หมดอายุจะบวมและแข็ง ท่อน้ำล่างอาจจะแฟ๊บเพราะแรงดูดจากปั๊มน้ำ
    2. วาล์วน้ำ (ถ้าเสีย จะทำให้อุณหภูมิของรถขึ้นสูงผิดปกติ)
    3. ฝาหม้อน้ำ ถ้าเสียหรือรั่ว จะทำให้ไม่เกิดสภาพสุญญากาศ เมื่อน้ำถูกดันออกมาถังพักจะไม่ถูกดูดกลับเข้าไป และจะต้องระมัดระวังในการเปลี่ยนด้วย เพราะฝาหม้อน้ำบางรุ่นใช้แทนกันไม่ได้
    4. น้ำในถังพักน้ำ จะต้องอยู่ที่ระดับ FULL
    5. สายยางจากหม้อน้ำไปยังถังพักน้ำ
    6. สวิตช์พัดลม (ในกรณีที่ใช้พัดลมไฟฟ้า)
    7. ฟรีปั๊ม (คลัตช์พัดลม), น้ำยาฟรีปั๊ม
    8. พัดลมไฟฟ้า (ทำงานโดยอัตโนมัติ ถ้าไม่ทำงานให้ตรวจเช็คฟิวส์เป็นอันดับแรก)
    9. หม้อน้ำ
    10. ยางอุดตาน้ำ (จะบวม)
    11. น้ำยาหล่อเย็น (ใช้เติมเพื่อเพิ่มจุดเดือดของน้ำ และป้องกันสนิม)
    12. ใบพัดลมหม้อน้ำ ไม่แตกร้าวเสียหาย
    13. การรั่วไหลของน้ำบริเวณหม้อน้ำ ก๊อกถ่ายน้ำ(หางปลาหม้อน้ำ)
    14. คอห่านบน-ล่าง (จะผุตามกาลเวลา)
    15. แป๊บราวน้ำ
    16. ถังพักน้ำ (จะมีช่องหายใจด้วย)
    17. ปั๊มน้ำ (จะมีอายุการใช้งาน)
    18. เกจความร้อนในห้องโดยสาร
    19. สายพานปั๊มน้ำ

*** ให้เพื่อนๆ ลองคิดเองนะครับว่า อุปกรณ์แต่ละอย่างถ้าทำงานไม่ปกติ จะเป็นอย่างไร Continue reading

เพลาลูกเบี้ยว-เฟืองราวลิ้น (Camshaft)

Car engine camshafts

เพลาลูกเบี้ยวรถยนต์ (Camshaft)

เพลาลูกเบี้ยว เป็นเพลาหมุน ที่ถูกสร้างให้บริเวณ แกนเพลามีชิ้นโลหะยื่นออกมาในรูปทรงของ “รูปไข่” โลหะที่ยื่นออกมาจากแกนเพลาที่เป็นรูปไข่นี้เอง เรียกว่า “ลูกเบี้ยว” เมื่อเวลาแกนเพลาหมุน ลูกเบี้ยวก็จะหมุนตาม

camshaft
เพลาลูกเบี้ยว

หน้าที่ของเพลาลูกเบี้ยว

เพลาลูกเบี้ยว ทำหน้าที่ควบคุมการเปิดวาล์วไอดี (ปิดวาล์วไอเสีย) เพื่อให้ไอดีไหลเข้ามาสู่ห้องเผาไหม้ และเปิดวาล์วไอเสีย (ปิดวาล์วไอดี) เพื่อให้ไอเสียไหลออกไป สรุปคือ เมื่อเพลาลูกเบี้ยวหมุนเมื่อใด ก็จะต้องมี การเปิด-ปิดของวาล์ว (Valve) เกิดขึ้นเมื่อนั้น

เพลาลูกเบี้ยวติดตั้งอยู่ที่ไหน ?

เครื่องยนต์รุ่นเก่าหน่อย จะมีเพลาลูกเบี้ยว เป็นแกนอยู่ภายในห้องเสื้อสูบ (ห้องเครื่อง) ซึ่งได้รับแรงหมุนมาจาก เพลาข้อเหวี่ยงอีกที เครื่องยนต์ที่มีเพลาลูกเบี้ยวติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องนี้ เวลาเพลาลูกเบี้ยวหมุน ก็จะไปดันเอาลูกกระทุ้ง (Cam follower) ให้ไปดันเอาก้านกระทุ้ง (Push rod) ซึ่งแกนอีกด้านหนึ่งของก้านกระทุ้ง ก็จะไปดัน กระเดื่องวาล์ว (Rocker arm) ให้ไปกดวาล์วให้เปิดออก เมื่อวาล์วเปิดออก ก็จะส่งผลให้ มีการถ่ายเทอากาศ ในห้องเผาไหม้ (วาล์วที่ติดตั้งอยู่เหนือห้องเผาไหม้เรียกว่า Over Head Valve หรือ OHV)

eq006

รูปแบบตัวถังรถยนต์แบบต่างๆ (The Different Types of Car Body Styles)

รูปแบบตัวถังรถยนต์ชนิดต่างๆ

รูปแบบตัวถังรถยนต์แบบต่างๆ (Body style)

รูปแแบตัวถังรถยนต์จะถูกออกแบบตามลักษณะการใช้งาน การบรรทุกสัมภาระ จำนวนที่นั่ง เป็นต้น ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้

  • รถซีดาน (sedan body style)
  • รถฮาร์ดท็อป (hardtop body style)
  • รถเปิดประทุน (convertible body style)
  • รถลิฟท์แบ็ค (Lift-back body style)
  • รถวากอน (Wagon body style)
  • รถมินิแวน (Mini van body style)
  • รถตู้คอมเมอร์เชียล (Commercial Van)
  • รถปิ๊กอัพ (Pick-up truck body style)
  • รถปิ๊กอัพ 4ประตู
  • รถตีนโต (Monster truck)
  • รถคูเป้ (Coupe)
  • รถเฮสยูวี (SUV/Crossover)
  • รถบ้าน (camper-van)
ตัวถังซีดาน 2 ประตู(Two-door sedan body style)
ตัวถังซีดาน 4 ประตู(Four-door sedan body style)

 

ตัวถังฮาร์ตท๊อป 2 ประตู(Two-door hardtop style)
ตัวถังฮาร์ตท๊อป 4 ประตู(Four-door hardtop style)

Continue reading

เสื้อสูบ-ปลอกสูบ (Cylinder block)

เสื้อสูบรถยนต์

เสื้อสูบ (Cylinder block)

เสื้อสูบ เป็นเสมือนตัวถังของเครื่องยนต์ เป็นที่อยู่ของเพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft) ลูกสูบ (Piston ) ก้านสูบ (Connecting rod) ซึ่งเสื้อสูบสามารถทำจากโลหะหล่อ ผสมนิกเกิล โครเมียม หรือส่วนผสมต่างๆ ตามความก้าวหน้า ของวิทยาการด้านโลหะวิทยา เพื่อทำให้เกิดความแข็งแรง ทนความร้อนสูง เสื้อสูบ ถูกสร้างจากการหล่อแบบ เสื้อสูบประกอบด้วยกระบอกสูบหลาย ๆ ชุด ซึ่งมีลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นและลงอยู่ภายใน ส่วนบนของกระบอกสูบถูกผนึกด้วยฝาสูบ ซึ่งผนึกแน่นด้วยปะเก็นฝาสูบ ซึ่งอยู่ระหว่างเสื้อสูบและฝาสูบห้องเพลาข้อเหวี่ยงจะอยู่ส่วนล่างของเสื้อสูบ รอบ ๆ กระบอกสูบ ถูกหล่อเย็นด้วยน้ำหล่อเย็นและจะมีช่องผ่านของน้ำมันหล่อลื่นอยู่ด้วย ภายในเสื้อสูบยังประกอบด้วยกระบอกสูบ ซึ่งเป็นที่ ๆ ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลง ส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศจะต้องไม่รั่วไหล และความต้านทานของความฝืด ระหว่างลูกสูบกับกระบอกสูบ จะต้องต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้

eq002

ปลอกสูบ (Cylinder liner) Continue reading