การทำงานของเกียร์ธรรมดา
รถยนต์จำเป็นที่จะต้องมีชุดเกียร์หรือระบบส่งกำลังเนื่องจาก
- เครื่องยนต์จะต้องทำงานไม่เกินรอบเครื่องยนต์สูงสุด(redline) ที่จะทำให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหาย
- กำลังม้าและแรงบิด(ทอร์ก) ของเครื่องยนต์สูงสุดจะได้มาจากช่วงของรอบเครื่องยนต์ที่แคบ เช่น เครื่องยนต์ให้แรงม้าสูงสุดที่ 5,500 รอบ (rpm) เราสามารถใช้ชุดเกียร์ทำการเปลี่ยนความเร็วของรถช้าลงหรือเร็วขึ้นได้ โดยการเปลี่ยนอัตราทดของเกียร์ และทำให้รอบของเครื่องยนต์ไม่สูงเกินไป
แรงบิดและอัตราทดของเกียร์
ลูกสูบได้รับแรงจากการจุดระเบิดภายในกระบอกสูบ และส่งแรงผ่านก้านสูบลงมายังเพลาข้อเหวี่ยง โดยเปลี่ยนการเคลื่อนที่จากแนวตรงมาเป็นการหมุน หลังจากนั้นเพลาข้อเหวี่ยงก็ส่งถ่ายแรงบิดไปให้ชุดเกียร์หรือห้องเกียร์ (แรงบิด คือแรงที่ทำให้เกิดการหมุน ถ้าไม่มีแรงบิดเพลาข้อเหวี่ยงก็ไม่สามารถหมุนได้)
ชุดเกียร์(Transmission) จะต่อกับเครื่องยนต์โดยผ่านระบบคลัตช์ ดังนั้นความเร็วรอบที่เข้าสู่ห้องเกียร์ผ่านเพลาคลัตช์จะเท่ากับจำนวนรอบของเครื่องยนต์
ชุดเกียร์จึงได้รับการออกแบบมาให้มีระดับการทดรอบการหมุน เช่น ในเครื่องยนต์ที่มีชุดเกียร์ 5 เกียร์ แรงหมุนจากเครื่องยนต์ส่งมาให้ชุดเกียร์ 2.315 รอบ เมื่อเราใช้เกียร์ 1 จะทำการทดรอบแล้วส่งแรงหมุนออกไปภายนอก 1 รอบ เมื่อเป็นเช่นนี้ รอบที่ถูกทดไป จะได้กำลังที่เรียกว่าแรงบิด หรือทอร์ค (Torque) เพิ่มขึ้น ดังแสดงในตาราง
Gear | Ratio | รอบเครื่องยนต์ต่อนาทีที่ชุดเกียร์ส่งออกไปที่รอบเครื่องยนต์ 3,000 rpm |
1st | 2.315:1 | 1,295 |
2nd | 1.568:1 | 1,913 |
3rd | 1.195:1 | 2,510 |
4th | 1.000:1 | 3,000 |
5th | 0.915:1 | 3,278 |
อ่านเพิ่มเติม https://auto.howstuffworks.com/transmission4.htm