Category Archives: เครื่องยนต์

เครื่องยนต์ระบบ VTEC

เครื่องยนต์ระบบ VTEC

เครื่องยนต์ระบบ VTEC

VTEC ย่อมาจาก (VARIABLE VALVE TIMING AND VALVE LIFT ELECTRONIC CONTROL SYSTEM) คือ ระบบที่ควบคุมการเปิดปิดของวาล์วไอดีด้วยอิเล็กทรอนิคส์ให้เหมาะสมกับภาระของเครื่องยนต์ในแต่ละช่วงความเร็ว เช่นในรอบเครื่องยนต์ต่ำ วาล์วไอดีก็จะเปิดน้อย ในขณะที่รอบเครื่องยนต์สูงไอดีจะเปิดมากขึ้น เพื่อให้ได้ไอดีที่เหมาะกับการทำงานของเครื่องยนต์

ในเครื่องยนต์ปกติทั่วไปที่ไม่มีระบบ VTEC การเปิดปิดของวาล์วไอดีจะมีระบบและช่วงเวลาของการเปิดปิดวาล์วไอดีที่ตายตัวในทุกช่วงความเร็วของเครื่องยนต์ นั่นหมายถึงว่าปริมาณของอากาศที่ไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้จะสม่ำเสมอเท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นรอบเครื่องยนต์ที่สูงหรือต่ำ

  • VTEC หรือ การควบคุมการเปิดปิด-ระยะยกของวาล์ว ด้วยระบบอิเล็คโทรนิค.. ซึ่งในรอบต่ำ เครื่องจะใช้ ชุดแคมปกติ ที่มีองศาและ ลิฟต่ำ เพื่อการทำงานที่นุ่มนวล และ ประหยัดเชื้อเพลิง และเมื่อระบบ วีเทคทำงานแล้ว จะมีการเปลี่ยนชุดแคมไปใช้ ชุด cam สำหรับรอบสูงที่มี องศาสูง และ ลิฟท์สูงกว่าชุดแรกเพื่อที่จะได้กำลังเครื่องที่สูงกว่า
  • VTEC LEV  ระบบการทำงานเช่นเดียวกันกับเครื่องยนต์ ระบบ vtec ครับ แต่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เครื่องยนต์มีความฝืดในการทำงานต่ำ ให้แรงบิดและกำลังดีอย่างต่องเนื่อง ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และที่สำคัญมลพิษที่ออกมาจากการทำงานของเครื่องยนต์ต่ำครับ
  • VTEC-E การควบคุมการเปิดปิด-ระยะยกของวาล์ว ด้วยระบบอิเล็คโทรนิค เพื่อประสิทธิภาพ ( บางที่ก็เรียก E คือ Efficiency บางที่ก็ ให้ E คือ Economic ) ซึ่ง ตรงนี้อาจจะไม่ใช่ Vtec ที่เราคุ้นเคยกัน คือ ในรอบต่ำ ระบบ VTEC-E จะทำงาน โดยไปบังคับให้ วาล์ไอดี สูบละ 1 ตัว ไม่ให้เปิดเต็มที่ หรือพูดง่ายๆก็คือ เหลือแค่ 12 วาล์วแค่นั้น เพื่อต้องการให้เครื่องประหยัดการใช้น้ำมัน และเมื่อ ถึงรอบเครื่องที่กำหนดไว้ ระบบ VTEC-E ก็จะเปิดวาล์ว ทำงานอย่างเต็มที่ ทั้ง 16 วาล์ว ( รอบประมาณ 2500 ในเครื่อง D16Y5 ) และ VTEC-E ไม่มีชุดแคมสำหรับรอบสูง เหมือน VTEC ครับ คือ VTEC-E พัฒนามาเพื่อเน้นด้านความประหยัด มากกว่าเรื่องความแรงครับ
  • VTC Variable Timing Control คือระบบการควบคุมการปิดเปิดวาล์ว โดยระบบนี้จะสามารถปรับการทำงานของแคมเกียร์ ของแคมฝั่งไอดีได้ โดยมีการทำงานตลอดทุกช่วงของการทำงานของเครื่องยนตร์ VTC จะทำงานโดยโดยการคำนวน และ สั่งการจาก ECU ครับ
  • i-VTEC คือ ระบบที่รวมเอา VTC และ VTEC  เข้าด้วยกัน ( i-VTEC = VTEC + VTC)

สรุป

1. เครื่องยนต์ระบบ vtec คือเครื่องยนต์ที่มีระบบความคุมการดูดอากาศเข้าเครื่องยนต์ โดยการควบคุมระยะการเคลื่อนที่ของวาล์วด้านไอดีให้เปิดมากขึ้นตั้งแต่รอบ เครื่องยนต์ปานกลางจนถึงรอบสูง ทำให้เครื่องยนต์ประหยัดน้ำมันและมีแรงบิดของเครื่องยนต์ดีที่รอบต่ำและให้ กำลังเครื่องยนต์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่รอบปานกลางจนถึงรอบสูง

2. เครื่องยนต์ระบบ vtec lev การทำงานเช่นเดียวกันกับเครื่องยนต์ ระบบ vtec ครับ แต่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เครื่องยนต์มีความฝืดในการทำงานต่ำ ให้แรงบิดและกำลังดีอย่างต่องเนื่อง ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และที่สำคัญมลพิษที่ออกมาจากการทำงานของเครื่องยนต์ต่ำครับ

3. เครื่องยนต์ระบบ i-vtec คือเครื่องยนต์ที่มีการพัฒนาดดยผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี vtec (ควบคุมระยะยกของวาล์วให้เหมาะตามความเร็วเครื่องยนต์)และ เทคโนโลยี vtc (ควบคุมระยะเวลาการเปิดของไอดี )จึงทำให้เครื่อง i-vtec สามารถควบคุมการปิดและเปิดของไอดีได้อย่างเหมาะสมในทุกสภาวะทุกรอบความเร็ว ของเครื่องยนต์

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ [how a car engine works]

ระบบการทำงานของเครื่องยนต์

หลักการทำงานของเครื่องยนต์

เครื่องยนต์ที่กล่าวถึงนี้เรียกกันว่า เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน หรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยปกติเครื่องยนต์จะทำงานได้นั้นจะอาศัยองค์ประกอบของระบบหลักดังนี้

  • ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (น้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซิน)
  • ระบบอากาศ
  • ระบบจุดระเบิด (มี 2 ประเภทคือ จุดระเบิดด้วยประกายไฟ และจุดระเบิดด้วยการอัดอากาศ)

ระบบที่กล่าวมานั้นจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งมีน้อยหรือมากจนเกินไปก็สร้างปัญหาตามมาอีกมากมายเลยทีเดียว แต่ละระบบเราคงต้องมาเรียนรู้กันอีกทีหนึ่ง แต่ก่อนอื่นเรามาดูถึงการทำงานของเครื่องยนต์กันก่อน

สำหรับเครื่องยนต์แบบ 4 สูบโดยทั่วไปเครื่องยนต์จะมีจังหวะการทำงานเป็น 4 จังหวะ (เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ)

  1. จังหวะดูด ลูกสูบจะเคลื่อนที่ลง และวาล์วไอดีเปิดออก ไอดีจะถูกดูดเข้ากระบอกสูบจากสภาพสุญญากาศภายในกระบอกสูบ เมื่อลูกสูบเคลื่อนลงต่ำสุดวาล์วไอดีจะปิด
  2. จังหวะอัด ลูกสูบเคลื่อนที่จากจุดต่ำสุดขึ้นไป (วาล์วไอดีและไอเสียปิดอยู่) ไอดีในกระบอกสูบจะถูกอัดให้มีปริมาตรเล็กลง
  3. จังหวะกำลัง เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ใกล้ตำแหน่งสูงสุด (ศูนย์ตายบน) ในจังหวะอัด จะเกิดประกายไฟที่หัวเทียน (เครื่องเบนซิน) ไอดีก็จะถูกเผาไหม้ (จุดระเบิด) เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงตำแหน่งบนสุดลูกสูบก็จะเริ่มเคลื่อนที่ลง ในระหว่างการเผาไหม้ ก็จะให้กำลังงานออกมาโดยส่งผ่านลูกสูบ ก้านสูบ ไปสู่เพลาข้อเหวี่ยง
  4. จังหวะคายไอเสีย เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ใกล้ตำแหน่งล่างสุด (ศูนย์ตายล่าง) วาล์วไอเสียก็จะเปิดออก หลังจากลูกสูบเคลื่อนที่ลงตำแหน่งต่ำสุดแล้ว ก็จะเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นและไอเสียก็่จะถูกไล่ออกไปผ่านวาล์วไอเสีย (จังหวะคายไอเสีย) เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงตำแหน่งบนสุดก็จะเคลื่อนที่ลง วาล์วไอเสียก็จะปิด และวาล์วไอดีจะเปิดออกเพื่อเริ่มจังหวะดูดอีกครั้งหนึ่ง


1. จังหวะดูด

2. จังหวะอัด

3. จังหวะกำลัง

4. จังหวะคายไอเสีย
ตัวอย่างลูกสูบเครื่องยนต์ดีเซล

ลูกสูบกะบะ ไมตี้เอ๊กซ์

ลูกสูบกะบะ อีซูซุ TFR

ลูกสูบกะบะ อีซูซุ TFR

ลูกสูบกะบะ มิตซูบิชิ ไซโคลน

ระบบสตาร์ทในรถยนต์ [Starting System]

ระบบสตาร์ทในรถยนต์

ระบบสตาร์ทในรถยนต์ [Starting System]

หน้าที่ของระบบสตาร์ทคือ ทำให้เครื่องยนต์เริ่มหมุนได้ จากนั้นเครื่องยนต์ก็จะหมุนต่อไปได้เอง และระบบสตาร์ทก็จะหยุดการทำงานลงทันทีที่เครื่องยนต์เริ่มทำงาน อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สตาร์ทคือ มอเตอร์สตาร์ท (Starter Motor) หรือที่เรียกกันว่า “ไดสตาร์ท” อุปกรณ์นี้จะทำงานด้วยไฟฟ้า ที่ต่อมาจากแบตเตอรี่ ผ่านสวิตช์สตาร์ท ซึ่งก็คือ ลูกกุญแจรถ ที่เราสตาร์ทเครื่องนั่นเอง เมื่อเราบิดลูกกุญแจไปจังตำแหน่ง “ON” ไฟจากแบตเตอรี่ จะเข้าสู่วงจรการจุดระเบิด คือตัวคอยล์จุดระเบิด เพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงาน แต่เมื่อใดที่เราบิดลูกกุญแจ ไปยังตำแหน่งสตาร์ท มอเตอร์สตาร์ทก็จะทำงานทันที

Continue reading

ระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์ (Lubricating System)

ระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์

ระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์ (Lubricating System)

 

อุปกรณ์ภายในเครื่องยนต์ ผลิตจากโลหะที่มีคุณภาพสูง แข็งแรงทนทาน แต่เมื่ออุปกรณ์เหล่านั้น ทำงานร่วมประสานกัน เช่นเพลาลูกเบี้ยวกับวาล์ว, บริเวณเพลาข้อเหวี่ยง หรือตามจุดข้อต่อต่างๆ ที่มีการเคลื่อนที่ เสียดสีกัน ย่อมทำให้เกิดการสึกหรอ และความร้อนขึ้น ตรงนี้เอง ที่จำเป็นต้องมีระบบหล่อลื่นที่ดี เพื่อลดการสึกหรอ และยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ให้ยาวนานขึ้น

ตัวเครื่องยนต์ ได้รับการออกแบบให้ ผนังเครื่องยนต์ มีร่อง มีรู เพื่อให้อากาศ และของเหลว ไหลเวียนได้เช่น ร่องอากาศที่เป็นทางเข้าของไอดี (Intake) หรือทางออกของไอเสีย (Exhaust) หรือบริเวณผนังของกระบอกสูบ ที่มีความร้อนสูงจากการเสียดสีกัน ระหว่างลูกสูบและกระบอกสูบ แม้แต่ร่องรู และท่อทางผ่านของน้ำมันเครื่อง เพื่อช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วน ของอุปกรณ์ในเครื่องยนต์

วงจรการทำงานของระบบหล่อลื่น

เครื่องยนต์ ที่ผลิตจากผู้ผลิตแต่ละบริษัท มีเทคโนโลยี่แตกต่างกัน แต่โดยมาก จะมีส่วนที่สำคัญคือ เครื่องยนต์ จะมีอ่างน้ำมันเครื่องอยู่ด้านล่าง เป็นที่กับเก็บน้ำมันเครื่อง (Oil) จะมีปั๊มน้ำมันเครื่อง (Oil Pump) ตัวกรองน้ำมันเครื่อง (Oil Filter) และหัวดูด รวมทั้งท่อทางน้ำมันต่างๆ ซึ่งทำงานดังนี้

Continue reading

ระบบระบายความร้อน หรือหล่อเย็นรถยนต์ (Car Cooling System)

ระบบระบายความร้อน

ระบบระบายความร้อน หรือหล่อเย็นรถยนต์ (Car Cooling System)

เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน อุปกรณ์ต่างๆ ในเครื่องยนต์เคลื่อนที่ การที่โลหะ 2 ชิ้น ทำงานเสียดสีกัน ก็จะต้องมีการหล่อลื่น ด้วยระบบหล่อลื่น (Lubricating System) ช่วยลดแรงเสียดสี แต่ในบริเวณที่มีความร้อนสูงเช่น ผนังกระบอกสูบ มีการเสียดสีกัน ระหว่างลูกสูบ และกระบอกสูบ อีกทั้งยังมีการจุดระเบิดจากหัวเทียนด้วย ความร้อนบริเวณนี้จะมีมากเป็นพิเศษ ดังนั้น เครื่องยนต์จึงต้องออกแบบ ให้บริเวณผนังของกระบอกสูบ และบริเวณต่างๆ ที่มีความร้อนมาก เป็นโพรงช่องว่าง เพื่อที่จะให้น้ำใหลเวียนถ่ายเทเอาความความร้อน ออกจากบริเวณนั้น ในขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่

แสดงการทำงานของระบบระบายความร้อนรถยนต์
แสดงการทำงานของระบบระบายความร้อน

วงจรการทำงานของระบบระบายความร้อน

อุปกรณ์ที่จำเป็นในระบบระบายความร้อน ได้แก่ ปั้มน้ำ (Water pump), วาล์วน้ำ (Thermostat), ท่อยางหม้อน้ำ (Radiator hoses), หม้อน้ำ (Radiator), พัดลมระบายความร้อน (Fan) ทำงานประสานกันคือ นับตั้งแต่สตาร์ทเครื่อง ตัวปั้มน้ำก็จะทำงานโดยได้รับแรงหมุนจากสายพาน ซึ่งต่อมาจากการหมุนพูลเล่ย์ ของแกนเพลาข้อเหวี่ยง การที่ปั้มน้ำทำงาน เป็นผลทำให้มีน้ำใหลเวียนอยู่ในโพรงผนัง ของเสื้อสูบ และบริเวณที่มีความร้อน

แสดงการติดตั้งวาล์วน้ำ
แสดงการติดตั้งวาล์วน้ำ

ช่วงแรกของการอุ่นเครื่อง น้ำยังคงไหลเวียน อยู่ในโพรงผนังรอบเครื่องยนต์ เนื่องจากวาล์วน้ำยังไม่ทำงาน เมื่อเครื่องยนต์เริ่มร้อนขึ้นเรื่อยๆ อุณหภูมิของน้ำที่ไหลเวียนอยู่รอบๆ เสื้อสูบก็เพิ่มขึ้น จนถึงจุดที่ทำให้วาล์วน้ำทำงาน เมื่อวาล์วน้ำได้รับความร้อนถึงจุดหนึ่ง ก็จะเปิดช่อง ยอมให้น้ำที่หมุนเวียนอยู่รอบเสื้อสูบ ถ่ายเทออกไปนอกเครื่องยนต์ ผ่านไปตามท่อยางหม้อน้ำ เพื่อไปเข้าสู่ทางเข้าหม้อน้ำด้านบน น้ำร้อนก็จะไหลจากด้านบนลงล่าง ผ่านครีบระบายความร้อนหม้อน้ำ (หรือที่เรียกกันว่ารังผึ้ง) ขณะเดียวกัน พัดลมระบายความร้อนหมุน เพื่อดูดอากาศที่อยู่ด้านหน้าหม้อน้ำ ผ่านครีบระบายความร้อนหม้อน้ำ ออกมาทางด้านหลัง น้ำร้อนที่ใหลจากด้านบนลงมา ก็จะมีอุณหภูมิลดลง ที่ด้านล่างหม้อน้ำ ก็จะมีท่อยางหม้อน้ำ ต่อไปสู่ทางเข้าผนังเสื้อสูบอีกที ทำให้น้ำที่มีอยู่ในระบบ ไหลเวียนไปมาระหว่างโพรงผนังห้องเครื่อง กับหม้อน้ำได้อย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่วาล์วน้ำยังคงเปิดอยู่

 

แสดงการเคลื่อนตัวของน้ำ เมื่อวาล์วน้ำยังไม่ทำงาน
แสดงการเคลื่อนตัวของน้ำ เมื่อวาล์วน้ำยังไม่ทำงาน

 

แสดงการเคลื่อนตัวของน้ำ เมื่อวาล์วน้ำยังทำงาน
แสดงการเคลื่อนตัวของน้ำ เมื่อวาล์วน้ำยังทำงาน

ที่บริเวณหม้อน้ำ จะมีฝาหม้อน้ำ (Radiator cap) และถังน้ำสำรอง (Coolant Reserve tank) ทำหน้าที่ดังนี้คือ ในขณะที่เครื่องยนต์ มีอุณหภูมิสูงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ น้ำจะเกิดการขยายตัว เพื่อดันตัวเองออกจากหม้อน้ำ ฝาหม้อน้ำ จะช่วยต้านแรงดันนี้ไว้ระดับหนึ่ง แต่เมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีก ไอน้ำที่เกิดขึ้นบริเวณฝาหม้อน้ำ จะมีแรงดันสูงกว่าที่ฝาหม้อน้ำจะต้านทานได้ ก็จะดันสปริงวาล์วฝาหม้อน้ำให้เปิดออก แล้วน้ำก็จะใหลออกไปทางท่อน้ำล้น ที่อยู่บริเวณปากฝาหม้อน้ำ ซึ่งจะมีสายต่อจากรูนี้ไปที่ถังน้ำสำรอง ในทางกลับกัน ขณะที่อุณหภูมิน้ำลดลง ความดันในระบบระบายความร้อนเริ่มต่ำลง น้ำที่อยู่ในถังน้ำสำรอง ก็จะถูกดูดกลับเข้าไปสู่หม้อน้ำ

ระบบเครื่องยนต์ ในรถยนต์ (Automotive Engine)

ระบบเครื่องยนต์ ในรถยนต์ (Automotive Engine)

ระบบเครื่องยนต์ ในรถยนต์ (Automotive Engine)

ระบบเครื่องยนต์เป็นต้นกำเนิดพลังการขับเคลื่อน ภายในเครื่องยนต์ จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ทำงานประสานกัน เป็นจังหวะ ตามที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้ สำหรับรถยนต์ทั่วไปในปัจจุบัน ถ้าเป็นเครื่องยนต์ ประเภท ขับเคลื่อนล้อหน้าแล้ว โดยมากจะวางเครื่องในลักษณะแนวขวาง แต่ถ้าเป็นเครื่องยนต์ ประเภทขับเคลื่อนล้อหลัง จะวางเครื่องในลักษณะแนวตรง

ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า
ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า
ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง
ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง

หากมองตามลักษณะการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รถที่ใช้น้ำมันเบ็นซินเป็นเชี้อเพลิง เรียกเครื่องยนต์ชนิดว่า “เครื่องยนต์แก๊สโซลีน” (Gasoline Engine) และรถที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เรียกว่า “เครื่องยนต์ดีเซล” (Diesel Engine) อาจเรียกกันง่ายๆ ว่าเครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซลก็ไม่ว่ากัน

เครื่องยนต์ในปัจจุบัน ใช้ลักษณะการจุดระเบิดในกระบอกสูบ เพื่อทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ไปในแนวตรงกันข้าม และด้านล่างของลูกสูบ ก็จะต่อกับก้านสูบ ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งของก้านสูบ ก็จะต่อกับเพลาข้อเหวี่ยงอีกที เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ไปมาในแนวลูกสูบ ก็จะมีผลให้ไปดึงเพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปด้วย ยิ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าไหร่ เพลาข้อเหวี่ยง ก็จะหมุนเร็วมากขึ้นเท่านั้น แรงหมุนนี้เองที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ในระบบรถยนต์ ลักษณะการทำงานแบบนี้เองที่เรียกว่า เครื่องยนต์ชนิดลูกสูบชัก

จะพบว่า บริษัทผลิตเครื่องยนต์ อาจมีเทคโนโยลี การผลิต ที่แตกต่างกันไปบ้าง ดังนั้น การออกแบบเครื่องยนต์ ก็แตกต่างกัน เป็นธรรมดา เครื่องยนต์บางแบบถูกออกแบบ ให้วางแนวกระบอกสูบ แตกต่างกันไป เช่น จัดวางกระบอกสูบแบบเรียง แบบตัววี แบบแนวนอน เป็นต้น

เครื่องยนต์แบบตัววี
เครื่องยนต์แบบตัววี
เครื่องยนต์แบบแถวเรียง
เครื่องยนต์แบบแถวเรียง

สายพานราวลิ้น หรือ สายพานไทม์มิ่ง ในรถยนต์

สายพานราวลิ้น หรือ สายพานไทม์มิ่ง

สายพานราวลิ้น หรือ สายพานไทม์มิ่ง (Timing Belt)

 ตัวอย่างคลิปวีดีโอการทำงานของสายพานไทม์มิ่ง

 

สายพานราวลิ้นมีใช้ในเครื่องยนต์บางรุ่น เพื่อใช้ในการถ่ายทอดกำลังจากเพลาข้อเหวี่ยงไปยังเพลาราวลิ้น ซึ่งเพลาราวลิ้นจะถ่ายทอดกำลังไปยังกระเดื่องวาล์วเพื่อไปทำหน้าที่ในการเปิดปิดวาล์วไอดี-ไอเสีย ในระบบของเครื่องยนต์ที่ใช้สายพานราวลิ้นในการถ่ายทอดกำลังนั้น จะต้องระมัดระวังในการใช้รถด้วย เนื่องจากสายพานราวลิ้นเมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่งจะเริ่มหมดสภาพ สายพานจะแข็ง แตก และฉีดขาดได้ ในขณะที่สายพานฉีดขาด กลไกของราวลิ้นยังคงทำงานอยู่ เครื่องยนต์จะไม่หยุดทำงานในทันที ทำให้วาล์วและอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับความเสียหายได้ จึงต้องทำการตรวจเช็ค และเปลี่ยนใหม่ตามที่กำหนด (ปกติแล้วจะเปลี่ยนที่ 80,000-100,000 กม.) ในส่วนของเครื่องยนต์ที่ไม่ได้ใช้สายพานราวลิ้นจะใช้เฟืองทำหน้าที่แทน ในรถบางรุ่นอาจใช้โซ่แทน เรียนกว่าโซ่ราวลิ้น

ตัวอย่างลูกรอกดันสายพานไทม์มิ่ง
ตัวอย่างลูกรอกดันสายพานไทม์มิ่ง

สิ่งที่สำคัญคือ ควรเปลี่ยนลูกรอกสายพาน(ราวลิ้น) พร้อมกับสายพานด้วย ซึ่งอาจมีตัวเดียวหรือสองตัว แล้วแต่รุ่นรถ ในกรณีที่สายพานราวลิ้นขาดในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่เพลาลูกเบี้ยวหรือเพลาราวลิ้นจะหยุดหมุน ลิ้นไอเสียบางสูบจะปิดสนิทในจังหวะอัด แต่ลูกสูบ ยังคงเคลื่อนที่ขึ้นลง และอัดอากาศซ้ำแล้วซ้ำอีก อากาศที่ถูกอัดนี้จะไม่มีทางออกจึงทำให้เกิดแรงต้านการเคลื่อนที่ของลูกสูบ (เนื่องจากแรงเฉื่อยทำให้เครื่องยนต์ยังทำงานอยู่) มีผลให้ก้านสูบ คดงอ วาล์วที่เปิดค้างอยู่จะถูกลูกสูบชนเนื่องจากผิดจังหวะ (รถยนต์ปัจจุบันได้มีการออกแบบให้วาล์วหลบลูกสูบ) ทำให้หัวลูกสูบแตกหรือทะลุ วาล์วคดงอได้

สายพานรถยนต์ (Automotive Belt)

สายพานรถยนต์

สายพานรถยนต์ (Automotive Belt)

สายพานเป็นอุปรณ์อีกชนิดที่ใช้ในการถ่ายทอดกำลังจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบและความเหมาะสม โดยปกติแล้ววีธีที่ใช้ในการถ่ายทอดกำลังเชิงกลที่นิยมใช้กันมีดังนี้

  1. ถ่ายทอดกำลังโดยใช้เฟือง
  2. ถ่ายทอดกำลังโดยการคับปลิ้ง(Coupling) หรือที่เรียกว่ายอย(เพลากลาง)
  3. ถ่ายทอดกำลังโดยใช้เพลา
  4. ถ่ายทอดกำลังโดยใช้ลูกเบี้ยว
  5. ถ่ายทอดกำลังโดยใช้สายพาน
  6. ถ่ายทอดกำลังโดยใช้โซ่
  7. ถ่ายทอดกำลังโดยใช้น้ำมัน
  8. ถ่ายทอดกำลังโดยใช้สาย เช่น สายเบรกมือ, สายคลัตช์(ในรถบางรุ่น)

Continue reading

กรองอากาศรถยนต์ (Automotive Replacement Air Filters)

การเปลี่ยนกรองอากาศรถยนต์

กรองอากาศรถยนต์ (Automotive Replacement Air Filters)

ไส้กรองอากาศนั้นว่าเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งในรถยนต์ที่รักของเรา หน้าที่ของไส้กรองอากาศก็เปรียบได้เหมือนกับขนจมูกของมนุษย์อย่างเราๆ ไส้กรองอากาศ มีหน้าที่ในการ กรองฝุ่นละอองจากอากาศ เพื่อจะนำเอาอากาศที่สะอาดไปใช้ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง (ที่เราเรียกกันว่า “ไอดี”) สำหรับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์

กรองอากาศรถยนต์ ทรงสี่เหลี่ยม
กรองอากาศรถยนต์ ทรงสี่เหลี่ยม

หน้าที่หลักๆของไส้กรองอากาศ

    • กรองฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่างๆ ที่ปะปนมากับอากาศไม่ให้ไหลเข้าไปในเครื่องยนต์ เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์สึกหรอและเสียหาย
    • ลดเสียงดังของอากาศที่ถูกดูดเข้าไปในเครื่องยนต์
    • ป้องกันไม่ให้เกิดประกายไฟย้อยกลับ ทำให้เกิดไฟไหม้ในห้องเครื่องยนต์ได้

ไส้กรองอากาศที่ใช้กับรถยนต์ ในปัจจุบันส่วนมากเป็นแบบกระดาษแห้ง สามารถเป่าทำความสะอาดได้

ไส้กรองอากาศต้องมีการตรวจเช็คตามระยะเวลา หรือเปลี่ยนทุกๆ 20,000 กม. เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ไส้กรองอากาศที่อุดตัน หรือมีฝุ่นผงติดอยู่มาก สิ่งเหล่านี้จะไปอุด ปิดกัน ปริมาณอากาศที่ไหลเข้าเครื่องยนต์ อากาศที่เข้าเครื่องยนต์ได้น้อยลง จะทำให้ส่วนผสมหนาเกินไป เร่งเครื่องยนต์ไม่ค่อยขึ้น รอบขึ้นช้า เครื่องยนต์มีเสียงดังขึ้น ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้มลพิษของไอเสียเพิ่มขึ้น ไอเสียที่ออกมาเป็นควันสีดำ และถ้ามีฝุ่นผงเข้าไปในเครื่องยนต์ จะทำให้เครื่องยนต์สึกหรอได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรทำความสะอาดไส้กรองอากาศ และเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน

ไส้กรองน้ำมันเครื่อง (Oil Filter)

ไส้กรองน้ำมันเครื่อง รถยนต์

ไส้กรองน้ำมันเครื่อง (Oil Filter)

หน้าที่หลักของไส้กรองน้ำมันเครื่องก็คือ กรองสิ่งสกปรกออกจากน้ำมันเครื่อง โดยอาศัยวิธีการให้น้ำมันเครื่องที่ผ่านการใช้งานแล้ว ซึมผ่านกระดาษกรองเข้าไปสู่แกนกลางของตัวกรอง จากนั้นจึงส่งน้ำมันไปยังชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ โดยจะดักจับสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น เขม่า, เศษโลหะเล็กๆ และฝุ่นผงต่างๆ ไว้ที่กระดาษกรอง เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์สึกหรอก

ปัจจุบันไส้กรองน้ำมันเครื่องที่นิยมใช้กันมีอยู่สองแบบ คือ

  • Cartridge oil filter เป็นใส้กรองกระดาษเปลือย ที่ภายในจะมีไส้กรองกระดาษพับทบไปมา ไส้กรองแบบนี้จะใส่อยู่ในฝาครอบกรองน้ำมันเครื่องอีกที (oil filter cap)
    Cartridge oil filter
    Cartridge oil filter
  • Spin-on oil filter เป็นไส้กรองที่มีเสื้อเหล็กห่อหุ้มไว้ หรือกรองเครื่องลูกเหล็ก ภายในตัวไส้กรองจะกรองกระดาษอยู่ และมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งชื่อ บายพาสวาล์ว (Bypass Valve) หรือ เซฟตี้วาล์ว (Safety Valve) ทำหน้าที่ระบายหรือปล่อยผ่านน้ำมันเครื่องให้เข้าไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ โดยไม่ต้องผ่านกระดาษกรองเมื่อกระดาษกรองเกิดการอุดตันจนมีแรงดันของน้ำมันเครื่องเกินกว่าแรงดันของบายพาสวาล์ว เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหาย
Spin-on oil filter
Spin-on oil filter