หลักการทำงานของเครื่องยนต์ [how a car engine works]

ระบบการทำงานของเครื่องยนต์

หลักการทำงานของเครื่องยนต์


เครื่องยนต์ที่กล่าวถึงนี้เรียกกันว่า เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน หรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยปกติเครื่องยนต์จะทำงานได้นั้นจะอาศัยองค์ประกอบของระบบหลักดังนี้

  • ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (น้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซิน)
  • ระบบอากาศ
  • ระบบจุดระเบิด (มี 2 ประเภทคือ จุดระเบิดด้วยประกายไฟ และจุดระเบิดด้วยการอัดอากาศ)

ระบบที่กล่าวมานั้นจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งมีน้อยหรือมากจนเกินไปก็สร้างปัญหาตามมาอีกมากมายเลยทีเดียว แต่ละระบบเราคงต้องมาเรียนรู้กันอีกทีหนึ่ง แต่ก่อนอื่นเรามาดูถึงการทำงานของเครื่องยนต์กันก่อน

สำหรับเครื่องยนต์แบบ 4 สูบโดยทั่วไปเครื่องยนต์จะมีจังหวะการทำงานเป็น 4 จังหวะ (เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ)

  1. จังหวะดูด ลูกสูบจะเคลื่อนที่ลง และวาล์วไอดีเปิดออก ไอดีจะถูกดูดเข้ากระบอกสูบจากสภาพสุญญากาศภายในกระบอกสูบ เมื่อลูกสูบเคลื่อนลงต่ำสุดวาล์วไอดีจะปิด
  2. จังหวะอัด ลูกสูบเคลื่อนที่จากจุดต่ำสุดขึ้นไป (วาล์วไอดีและไอเสียปิดอยู่) ไอดีในกระบอกสูบจะถูกอัดให้มีปริมาตรเล็กลง
  3. จังหวะกำลัง เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ใกล้ตำแหน่งสูงสุด (ศูนย์ตายบน) ในจังหวะอัด จะเกิดประกายไฟที่หัวเทียน (เครื่องเบนซิน) ไอดีก็จะถูกเผาไหม้ (จุดระเบิด) เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงตำแหน่งบนสุดลูกสูบก็จะเริ่มเคลื่อนที่ลง ในระหว่างการเผาไหม้ ก็จะให้กำลังงานออกมาโดยส่งผ่านลูกสูบ ก้านสูบ ไปสู่เพลาข้อเหวี่ยง
  4. จังหวะคายไอเสีย เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ใกล้ตำแหน่งล่างสุด (ศูนย์ตายล่าง) วาล์วไอเสียก็จะเปิดออก หลังจากลูกสูบเคลื่อนที่ลงตำแหน่งต่ำสุดแล้ว ก็จะเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นและไอเสียก็่จะถูกไล่ออกไปผ่านวาล์วไอเสีย (จังหวะคายไอเสีย) เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงตำแหน่งบนสุดก็จะเคลื่อนที่ลง วาล์วไอเสียก็จะปิด และวาล์วไอดีจะเปิดออกเพื่อเริ่มจังหวะดูดอีกครั้งหนึ่ง


1. จังหวะดูด

2. จังหวะอัด

3. จังหวะกำลัง

4. จังหวะคายไอเสีย
ตัวอย่างลูกสูบเครื่องยนต์ดีเซล

ลูกสูบกะบะ ไมตี้เอ๊กซ์

ลูกสูบกะบะ อีซูซุ TFR

ลูกสูบกะบะ อีซูซุ TFR

ลูกสูบกะบะ มิตซูบิชิ ไซโคลน