อินเตอร์คูลเลอร์ในเทอร์โบ (Intercooler)

การทำงานของอินเตอร์คูลเลอร์ (Intercooler)

การทำงานของอินเตอร์คูลเลอร์ (Intercooler)


 

อินเตอร์คูลเลอร์มีหน้าที่ระบายความร้อนของอากาศที่ผ่านมาจากเทอร์โบ โดยใช้น้ำหรืออากาศภายนอกเป็นตัวถ่ายเทความร้อนของอากาศ (Heat Exchanger) จากเทอร์โบ เมื่ออากาศเย็นลงความหนาแน่นของอากาศจะเพิ่มขึ้น พราะอุณหภูมิที่ลดลง ทำให้โมเลกุลอากาศหดตัว ที่ปริมาตรพื้นที่เท่าเดิมจะมีปริมาณโมเลกุลของเพิ่มมากขึ้น ทำให้เราสามารถเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ได้มากขึ้นหากเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไป

อินเตอร์คูลเลอร์มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเครื่องยนต์เบนซินติดตั้งเทอร์โบ หากไม่มีอินเตอร์คูลเลอร์แล้ว ความร้อนของอากาศจะทำให้เกิดการจุดระเบิดก่อนถึงห้องเผาไหม้ (Detonation) ทำให้แหวนลูกสูบและลูกสูบเกิดความเสียหาย แต่ในกรณีของเครื่องยนต์ดีเซล สามารถจะติดตั้งหรือไม่ติดตั้งก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบเครื่องยนต์ว่าต้องการกำลังและแรงบิดจากเครื่องยนต์มากน้อยเพียงใด เนื่องจากการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ดีเซลจะแตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซินดังนั้นในเครื่องยนต์ดีเซลจะไม่เกิดการจุดระเบิดก่อนเช่นเดียวกับเครื่องยนต์เบนซินซึ่งใช้หัวเทียนเป็นตัวจุดระเบิด ปัจจุบันท่านจะเห็นได้จากรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลต่างๆที่มีแค่รุ่นเทอร์โบเช่น Toyota 1 KZ, Isuzu 4 JH เป็นต้น ในขณะที่ Ford หรือ Mazda 2500 เทอร์โบที่มีการติดตั้งอินเตอร์คูลเลอร์มาด้วย เนื่องจากต้องการเพิ่มกำลังเครื่องยนต์ให้ใกล้เคียงกับเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่กว่า จึงออกแบบให้มีอินเตอร์คูลเลอร์เพิ่มโดยเพิ่มบู๊สต์ของเทอร์โบให้สูงกว่าเครื่องเทอร์โบธรรมดาพร้อมลดกำลังอัดในกระบอกสูบและเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงให้มากขึ้น ทำให้มีกำลังและแรงบิดใกล้เคียงกับเครื่องยนต์ขนาด 2800 หรือ 3000 ซีซี ที่มีและไม่มีเทอร์โบ

อ่านเพิ่มเ่ติม ระบบซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ และเทอร์โบชาร์จเจอร์