มาตรวัดอากาศแบบ L-Jetronic

มาตรวัดอากาศเครื่องยนต์

มาตรวัดอากาศ (สำหรับ L-Jetronic)


(1) D-Jetronic(D-EFI) เป็นระบบหัวฉีดอิเล็คทรอนิคส์แบบใช้ตัวตรวจจับแรงดันในท่อร่วมไอดี (Vacuum Sensor) แทนการใช้มาตรวัดแบบอากาศหรือ Air Flow Meter แล้วส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยัง ECU ร่วมกับสัญญาณความเร็วรอบของเครื่องยนต์ เพื่อกำหนดระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสม พบในรถฮอนด้า, รถโตโยต้า(4A-FE, 4A-GE 16 Valve, 7A-FE, 3VZ-FE, 1JZ-GTE, 2JZ-GTE เป็นต้น) รูปภาพ ไดอะแกรม

(2) L-Jetronic (L-EFI) เป็นระบบหัวฉีดที่นำเอา มาตรวัดอากาศมาใช้ (Air Flow Meter) ด้วยวิธีการวัดปริมาณของอากาศที่ไหลเข้าท่อร่วมไอดี และส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยัง ECU ร่วมกับสัญญาณความเร็วรอบของ เครื่องยนต์ เพื่อกำหนดระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสม ในส่วนของ Aif Flow Meter แบบที่ใช้กันมีดังนี้

  1. มาตรวัดการไหลของอากาศแบบใช้แผ่นวัด (Flap Aif Flow Meter) พบในรถโตโยต้า เช่น 3T-GTE, 1G-GTE, 3S-GTE, รถ Mazda BP(Astina) เป็นต้น มีหลักการทำงานดังนี้
    1. ทำงานโดยอาศัยการเปลี่ยนค่าความต้านทานและส่งแรงเคลื่อนไฟฟ้ากลับไปยัง ECU
    2. แรง ดันจะอยู่ในระดับประมาณ 5 V. เมื่อไม่มีอากาศไหลผ่าน Airflow และ เมื่อมีอากาศไหลผ่านก็จะให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าลดลง ตามปริมาณอากาศที่ไหลผ่าน
      โดยจะเข้าใกล้ 0V เมื่อมีอากาศไหลผ่านมากๆ

    นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่ติดตั้งให้ทำงานร่วมกับ Aif flow อีกสองตัวคือ

    1. ตัวจับอุณหภูมิอากาศ (Air temperture Sensor) โดยเซนเซอร์นี้จะเปลี่ยนค่าความต้านทานไฟฟ้าตามอุณหภูมิของอากาศ
    2. สวิตช์ ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Pump Switch) ใช้ในการควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง(ปั๊มติ๊ก) ให้หยุดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อเครื่องยนต์ไม่ได้ทำงานหรือดับ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเพลิงไหม้เวลาเกิดอุบัติเหตุ
  2. มาตรวัดการไหลของอากาศแบบใช้ขดลวดความร้อน (Hot Wire Air Flow Meter) พบในรถนิสสัน เช่น CA18DET, SR20DET ,RB20DET ,RB25DET , รถโตโยต้า เช่น 1JZ-GTE, รถ Mazda, รถ BMW เป็นต้น มาตรวัดแบบนี้วัด
    การไหลของอากาศโดยใช้ขดลวดความร้อน ในขณะที่มีอากาศไหลผ่านมากอุณหภูมิของขดลวดจะลดลง (ความต้านทานลดลง ทำให้กระแสจะไหลผ่านขดลวดมากขึ้น) และเมื่ออากาศไหลผ่านน้อยอุณหภูมิของขดลวดจะเพิ่มขึ้น (ความต้านทานเพิ่มขึ้นทำให้กระแสไหลผ่านขดลวดน้อยลง)
    ข้อดีของระบบมาตรวัดการไหลของอากาศแบบใช้ขดลวดความร้อนนี้คือ

    1. ขอบเขตการวัดปริมาณของอากาศที่ไหลผ่านอยู่ในช่วงที่กว้างกว่า แบบใช้แผ่นวัด ดังนั้นจึงเหมาะกับเครื่องยนต์ที่ติดตั้งเทอร์โบ
    2. ใน สภาพที่อยู่ในระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลความกดดันอากาศสูง มาตรวัดแบบนี้ยังคงทำงานได้ดีไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ปรับชดเชยการจ่าย น้ำมัน ในขณะที่มาตรวัดแบบแผ่น ต้องใช้อุปกรณ์ปรับชดเชยเนื่องจากส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศหนาไป

    มาตรวัดอากาศแบบใช้ขดลวดความร้อน ยังสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีกดังนี้

    1. แบบ Full Flow เป็นแบบนี่นิยมใช้ในเครื่องยนต์ 6 สูบ มีอุปกรณ์ทำความสะอาดตัวเองโดยการเผาผลาญสิ่งสกปรกที่ติดอยู่กับขดลวด
    2. แบบ Bypass Flow เป็นแบบที่นิยมใช้ในเครื่องยนต์ 4 สูบ ไม่มีอุปกรณ์ทำความสะอาดตัวเอง
  3. มาตรวัดการไหลของอากาศแบบคาร์มานเวอร์เท็กซ์ (Karman Vortex Air Flow Meter) พบในรถโตโยต้า เช่น 7M-GTE, รถมิตซูบิชิ เช่น 4G63 Sirius, 4G63 EVO II-III-IV-V-VI เป็นต้น มาตรวัดแบบนี้สามารถวัด การไหลของอากาศที่บรรจุเข้ากระบอกสูบได้เที่ยงตรงกว่าแบบใช้แผ่นวัด (Flap Aif Flow Meter) ชื่อคาร์มานเวอร์เท็กซ์นี้เป็นชื่อเรียกของรูปแบบการหมุนวนของอากาศ