Category Archives: ระบบแอร์รถยนต์

ระบบปรับอากาศในรถยนต์ [Auto Air Conditioning Systems]

ระบบปรับอากาศในรถยนต์ (Air Conditioning System)

ระบบปรับอากาศในรถยนต์ (Air Conditioning System)

ระบบแอร์ในรถยนต์

การทำงานของระบบปรับอากาศในรถยนต์

เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงาน ก็จะทำการดูดน้ำยาแอร์ ที่มีสภาพเป็นก๊าซเข้ามาอัดความดัน และอุณหภูมิให้สูงขึ้น จากนั้นส่งไปตามท่อทางออกของคอมเพรสเซอร์ เข้าสู่คอยล์ร้อน ที่แผงคอยล์ร้อน จะทำหน้าที่ระบายความร้อนของก๊าซเหล่านี้ออกไปตามครีบระบายความร้อน จนกระทั่งก๊าซเหล่านี้จะกลายเป็นของเหลวที่มีความดันสูง ไหลออกจากคอยล์ร้อน ผ่านท่อทางออก ไปเข้าสู่ถังพักน้ำยาแอร์ เพื่อกรองสิ่งแปลกปลอม และดูดความชื้นไปด้วย ขณะนี้น้ำยาแอร์ มีสภาพเป็นของเหลว และความดันสูง ไหลออกจาก ถังพักน้ำยาแอร์ ไปตามท่อเข้าสู่ วาล์วปรับความดัน

วาล์วปรับความดัน จะลดความดันของน้ำยาแอร์ลงมา ทำให้อุณหภูมิของน้ำยาแอร์ ลดต่ำลงอย่างมาก เพื่อป้อนเข้าสู่คอยล์เย็น ของเหลวความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำ ไหลเข้าสู่คอยล์เย็น ก็จะทำการดูดซับ ความร้อนที่บริเวณรอบๆ ตัวซึ่ง พัดลม (Blower) ก็จะทำหน้าที่ดูดอากาศในห้องโดยสาร ผ่านแผงคอยล์เย็น ผ่านทางท่อลม จนออกไปจากช่องปรับอากาศ ด้านหน้าคอนโซล อากาศร้อนในห้องโดยสาร จะถูกดูดซับออกไปด้วยวิธีนี้

ทางด้านน้ำยาแอร์ ก็จะทำการดูดซับความร้อนวนเวียนอยู่ตามท่อทางเดิน ที่ขดไปมาบนแผงคอยล์เย็น จนแปรสภาพ กลายเป็นก๊าซ ไหลออกจากคอยล์เย็นไปตามท่อ เข้าสู่คอมเพรสเซอร์อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นกระบวนการ อัดความดันน้ำยาแอร์ใหม่อีกรอบ เหตุการณ์แบบนี้ จะเกิดวนเวียนไปเรื่อยๆ จนกว่าคอมเพรสเซอร์ จะหยุดการทำงาน

ระบบปรับอากาศในรถยนต์ จะใช้อุปกรณ์ต่าๆ ที่สำคัญดังนี้

  • คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
  • คอยล์ร้อน (Condenser)
  • ถังพักน้ำยา-กรองและดูดความชี้น (Filter-Dryer Receiver)
  • วาล์วลดความดัน (Expansion Valve)
  • คอยล์เย็น (Evaporator)
  • น้ำยาแอร์ (Refrigerant)

คอมเพรสเซอร์ (Compressor)

คืออุปกรณ์ส่วนที่ทำหน้าที่เพิ่มความดัน ของน้ำยาแอร์ในระบบให้สูงขึ้น เพื่อส่งต่อไปให้กับคอยล์ร้อน คอมเพรสเซอร์ที่ใช้กับรถยนต์ อาจพบได้ 2 แบบคือ แบบลูกสูบ (Piston Compressor) และแบบ โรตารี่ (Rotary Compressor) ซึ่งรถยนต์ปัจจุบันส่วนมาก ใช้คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่

คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์
คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์

คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ที่ใช้กันส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ ติดตั้งอยู่บริเวณเครื่องยนต์ จะทำงานได้ต่อเมื่อ ได้รับแรงหมุนจากเครื่องยนต์ ผ่านมา ทางสายพาน คล้องไว้กับพูลเล่ย์ และจะมีคลัทช์แม่เหล็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพูลเล่ย์ อยู่บนแกนกลางเพลาหมุน ของคอมเพรสเซอร์ ในกรณีที่เครื่องยนต์หมุน แรงหมุนของเครื่องยนต์ จะถูกส่งผ่านสายพานมาหมุนพูลเล่ย์ แต่คอมเพรสเซอร์ยังไม่ได้ทำงาน

เมื่อเราเปิดสวิตช์แอร์ในห้องโดยสาร ไปยังตำแหน่ง “ON” กระแสไฟจากแบตเตอรี่ จะไปทำให้คลัทช์แม่เหล็ก ดูดยึดติดกับพูลเล่ย์ จึงส่งผลให้ แกนเพลาหมุนของคอมเพรสเซอร์ ไปจับยึดติดกับพูลเล่ย์ จากจุดนี้ ทำให้ คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงาน เมื่ออุณหภูมิในห้องโดยสาร เริ่มเย็นลงตามที่ต้องการแล้ว เซนเซอร์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) จะทำงานโดยไปตัดสวิตช์ ส่งผ่านไฟฟ้าที่คลัทช์แม่เหล็ก ทำให้คลัทช์แม่เหล็กกับพูลเล่ย์ แยกจากกัน คอมเพรสเซอร์จึงหยุดทำงาน แต่ในกรณีที่เราปิดสวิตช์ แอร์ในห้องโดยสาร ก็คือ การทำให้คลัทช์แม่เหล็กนี้ แยกจากพูลเล่ย์นั่นเอง

คอยล์ร้อน (Condenser)

มีลักษณะเป็นแผงรับอากาศขนาดพอๆ กับหม้อน้ำรถยนต์ มีทางเข้า และทางออกของน้ำยาแอร์ ถูกออกแบบมาให้มีท่อน้ำยาแอร์ ขดไปมาบนแผงดังกล่าว ผ่านครีบระบายความร้อน ซึ่งมีลักษณะ คล้ายครีบระบายความร้อนของหม้อน้ำ คอยล์ร้อน จะติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ารถยนต์ คู่กับหม้อน้ำ และมีพัดลมไฟฟ้าช่วยระบายความร้อน

คอยล์ร้อน (Condenser)
คอยล์ร้อน (Condenser)
คอยล์ร้อน (Condenser)
คอยล์ร้อน (Condenser)

รูทางเข้าของคอยล์ร้อน จะต่อท่อร่วมกับรูทางออกของคอมเพรสเซอร์ ส่วนรูทางออกของคอยล์ร้อน จะต่อท่อร่วมกับรูทางเข้าถังพักน้ำยา-กรองและดูดความชื้น(Dryer) Continue reading

ระบบแอร์รถยนต์ (car air conditioning system)

ระบบแอร์ในรถยนต์

หลักการทำงานของระบบการทำความเย็น

ในเครื่องปรับอากาศรถยนต์เป็นระบบทำความเย็นแบบอัดไอ (vapor compression system) ด้วยคอมเพรสเซอร์แอร์ (compressor) มีลำดับขั้นตอนการทำงานดังนี้

  • คอมเพรสเซอร์แอร์จะดูดสารทำความเย็นจากคอยล์เย็น (evaporator) ที่มีสถานะเป็นแก๊ส
  • เมื่อสารทำความเย็นผ่านคอมเพรสเซอร์จะที่มีอุณหภูมิและความดันเพิ่มสูงขึ้น ส่งต่อไปที่แผงคอยล์ร้อน (condenser) เพื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำลง เปลี่ยนสถานะจาก แก๊สเป็นของเหลว
  • จากนั้นสารทำความเย็นจะไหลต่อไปยังดรายเออร์(receiver/dryer) เพื่อกรองสิ่งสกปรกและความชื้นที่ปนเปื้อนในสารทำความเย็น ก่อนส่งต่อไปยังวาล์วแอร์
  • วาล์วแอร์ (expansion valve) จะฉีดสารทำความเย็นเป็นฝอยละอองเข้าไปในคอยล์เย็น (evaporator) ทำให้สารทำความเย็นมีความดันต่ำและดูดความร้อนจากภายนอกโดยโบว์เออร์ เพื่อให้ตัวมันเองมีสถานะกลายเป็นแก๊ส ทำให้อุณหภูมิภายนอกลดลง
  • หลังจากนั้นสารทำความเย็นที่เป็นแก๊สจะถูกดูดเข้าไปในคอมเพรสเซอร์แอร์ (compressor) เพื่อเริ่มต้นการทำงานใหม่อีกครั้ง


ระบบปรับอากาศรถยนต์

พัดลมโบว์เออร์

ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศรถยนต์

1. คอมเพรสเซอร์(compressor) เป็นอุปกรณ์ที่ดูดสารทำความเย็นจากคอยล์เย็น และเพิ่มแรงดันให้สารทำความเย็นก่อนส่งไปยังคอยล์ร้อน โดยมีความดันมากกว่า14.1กก./ตร.ซม.
คอมเพรสเซอร์แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

  • แบบรีซิโพรเคติ้ง (reciprocating type)
  • แบบสวอชเพลต (swash plate type)
  • แบบเวนโรตารี (vane rotary type)

ตัวอย่างคอมเพรสเซอร์

คลัตช์แม่เหล็ก

Continue reading