เครื่องมือช่างยนต์ (Tools)
เครื่องมือประเภท (Screwdrivers)
เครื่องมือประเภทนี้จัดได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้แทบทุกลักษณะของงานซ่อม โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับถอดและใส่สกรูที่มีหัวในลักษณะเป็นร่อง ไขควงสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภทคือ
- ไขควงปากแบน และปากแฉก (Standard tip Screwdriver) เป็นไขควงที่ใช้กับสกรูที่มีหัวเป็นร่องผ่าการใช้ไขควงประเภทนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ปากของไขควงกับร่องของสกรูเหมาะสมกัน โดยปากของไขควงจะต้องไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อไขควงหรือร่องสกรูได้
เครื่องมือประเภทคีม (Pliers)
เครื่องมือประเภทคีม จัดได้ว่าเป็นเครื่องมือที่มีใช้แทบทุกลักษณะงานซ่อม เครื่องมือดังกล่าวนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อให้เหมาะสมกับงานในลักษณะต่าง ๆ กัน คีมที่ใช้งานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า มีอยู่ด้วยกัน 6 แบบ คือ
1. คีมช่างไฟฟ้า (Lineman’s Pliers) คีมช่างไฟฟ้าเป็นคีมที่ใช้งาน ตัดสายไฟ ต่อสายไฟ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าตลอดจนงานซ่อมและบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้จับยึดวัสดุที่มีลักษณะทรงกระบอกได้ด้วย
ลักษณะของคีมช่างไฟฟ้า
2. คีมตัดสายไฟฟ้า (Diagonal – Cutting Pliers) โดยปกติคีมประเภทต่าง ๆ ที่ใช้งานไฟฟ้านั้น มักจะออกแบบมาเพื่อให้สามารถตัดสายไฟได้ด้วย แต่จะเป็นในลักษณะการตัดสายด้านข้างของคีม (Side Cutting) ซึ่งอาจจะทำให้การตัดสายเป็นไปอย่างไม่สะดวกในที่ที่คับแคบ และคีมประเภทนี้ส่วนใหญ่จะออกแบบมาเพื่อให้สามารถปอกสายไฟได้ด้วย โดยจะทำเป็นรูใหญ่เล็กตามขนาดของสายไฟ โดยรูสำหรับปอกสายไฟนี้จะอยู่ระหว่างปากของคีมรูปที่ 17.4 ลักษณะของคีมตัดสายไฟ
3. คีมปากยาว (Long-nose Pliers) คีมประเภทนี้มักใช้กับงานต่อสายไฟหรือใช้คู่กับคีมปอกสายเพื่อใช้ในการปอกสายไฟ และคีมปากยาวมักจะถูกออกแบบเพื่อให้สามารถตัดสายไฟได้ด้วย
ลักษณะของคีมปากยาว
4. คีมปอกฉนวน คีมชนิดนี้เป็นคีมที่ใช้ปอกฉนวนสายไฟโดยเฉพาะจะมีช่องสำหรับสอดสายไฟตามขนาดต่าง ๆ เข้าไป ในการใช้คีมปอกฉนวนนั้น จะต้องเลือกขนาดของช่องปอกสายให้เหมาะสมกับขนาดของสาย มิฉะนั้นแล้วจะทำให้ตัวนำขาดตามฉนวนออกไปด้วย
คีมปอกสายไฟ
5. คีมถอดแหวนล็อก (Retaining Ring Pliers) คีมประเภทนี้ใช้กับงานที่เกี่ยวกับ มีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนที่ ดังนั้นเพื่อให้การเคลื่อนที่เป็นไปด้วยดี โดยไม่เลื่อนหรือหลุดออก ซึ่งก็จำเป็นอยู่เองที่จำเป็นต้องมีแหวนล็อก และ เพื่อให้การถอดใส่สะดวกและรวดเร็ว จึงจำเป็นที่จะต้องใช้คีมดังกล่าวในการช่วยถอดและใส่
คีมถ่างแหวน
เครื่องมือประเภทประแจ (Wrenches)
เครื่องมือประเภทประแจเป็นเครื่องมือที่ใช้มาก เกี่ยวกับงานถอดประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ แต่สำหรับงานถอดประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าก็มีความจำเป็นอยู่ไม่น้อย ที่จะต้องใช้เครื่องมือประเภทนี้ ประแจที่จำเป็นต้องใช้ในงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1. ประแจปากตาย (Open-end Wrenches) เป็นประแจที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อถอดและใส่หัวสกรูหรือนอตที่มีลักษณะหัวเป็นเหลี่ยม โดยประแจจะมีขนาดต่าง ๆ กันเพื่อให้เหมาะสมกับหัวสกรูหรือนอต
2. ประแจแหวน (Ring Wrenches) ประแจแหวนเป็นประแจที่ออกแบบมาสำหรับถอดและใส่น๊อตและสกรูที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมเช่นเดียวกับประแจปากตาย แต่ประแจประเภทนี้มีข้อดีกว่าประแจปากตายตรงที่ ในขณะที่ใช้ประแจประเภทนีจับหัวสกรูจะเห็นได้ว่าประแจมีจุดที่สัมผัสกับเหลี่ยมของหัวสกรูมากกว่าประแจปากตาย
ประแจแหวน
3. ประแจหกเหลี่ยม (Allen Wrenches) ประแจหกเหลี่ยมเป็นประแจที่ถอดใส่ประเภทที่มีหัวเป็นร่องลึกลักษณะหกเหลี่ยม โดยสกรูประเภทดังกล่าวนี้ จะใช้เกี่ยวกับการล็อคจุดต่าง ๆ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ประแจหกเหลี่ยม
หัวแร้งไฟฟ้า
หัวแร้งไฟฟ้า เป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าให้เป็นพลังงานความร้อน เพื่อใช้ในการเชื่อมหรือถอดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เรียกว่า “การบัดกรี” มีด้วยกัน 2 แบบ
- หัวแร้งปืน (Electric Soldering Gun) เป็นหัวแร้งประเภทที่ใช้ความร้อนสูงและรวดเร็ว มีลักษณะเป็นหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดหนึ่ง มีขดลวด 3 ชุด พันอยู่บนแกนเหล็ก ชุดปฐมภูมิเป็นขดลวดรอบมากเส้นลวดเล็ก นำไปใช้กับไฟฟ้า 220 โวลต์ ทางด้านชุดทุติยภูมมี 2 ขด คือ ขดเส้นลวดเล็ก พันให้ได้แรงดันไฟฟ้าประมาณ 2.2 โวลต์เพื่อใช้ไปจุดหลอดไฟแสดงว่าเครื่องทำงาน และขดเส้นลวดใหญ่ พัน 5-6 รอบ ได้แรงดันไฟฟ้าประมาณ 2.2 โวลต์ แต่จะมีกระแสสูงมาก เพื่อต่อเข้ากับชุดปลายหัวแร้งทำให้เกิดเป็นความร้อนสำหรับใช้ในการบัดกรี หัวแร้งแบบนี้จะมีค่าวัตต์สูงเหมาะสำหรับงานบัดกรีที่ต้องการความร้อนมากๆ เช่น การบัดกรีสายไฟกับหลักต่อสาย การบัดกรีอุปกรณ์ตัวโต ๆ การบัดกรีรอยต่อเพื่อถอดเปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
หัวแร้งปืนไฟฟ้า
- หัวแร้งแช่ (Electric Soldering) ปัจจุบันหัวแร้งแช่เป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจาก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันเป็นประเภทโซลิคสเตจ สารกึ่งตัวนำถ้าถูกนำความร้อนสูง ๆ จะทำให้เกิดความเสียหายได้ อีกทั้งแผ่นปรินซ์วงจรก็มีความละเอียดอ่อนไม่เหมาะกับหัวแร้งที่ให้ความร้อนสูง ส่วนประกอบของหัวแร้งแช่ เป็นเส้นลวดความร้อนพันอยู่บนฉนวนห่อหุ้มด้วยไมก้า มีข้อต่อสำหรับเชื่อมต่อกับปลายหัวแร้งเพื่อนำความร้อนใช้สำหรับบักรีได้ หัวแร้งประเภทนี้ให้ความร้อนคงที่ มีตั้งแต่ขนาด 10 วัตต์ จนถึง 100 วัตต์ เลือกให้เหมาะสมกับงานที่จะใช้ บางรุ่นจะมีสวิตช์กดเพิ่มระดับความร้อนให้สูงได้ด้วย สำหรับปลายบัดกรีของหัวแร้งแช่ จะมีทั้งชนิดที่ใช้แล้วสึกกร่อนหมดไป และ ชนิดปลายเซรามิคเป็นชนิดที่ใช้แล้วไม่สึกกร่อน สำหรับงานประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ควรเลือกใช้หัวแร้งที่มีขนาดความร้อนประมาณ 15 – 30 วัตต์ เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางชนิดมีความไวต่อความร้อน ถ้าใช้ความร้อนมากจะทำให้อุปกรณ์ดังกว่าเสื่อมสภาพหรือเสียหายได้
หัวแร้งแช่แบบปืนปรับระดับความร้อนได้ |
หัวแร้งแช่แบบปรับระดับความร้อนไม่ได้ |
ตะกั่วบัดกรี
ตะกั่วบัดกรีแบบเป็นม้วน |
ตะกั่วบัดกรีแบปากกา |