Category Archives: ระบบไฟฟ้ารถยนต์

อะไหล่รถยนต์ : รีเลย์ (Relay)

รีเลย์รถยนต์ (Relay)

รีเลย์ (Relay) เป็นอะไหล่รถยนต์ตัวหนึ่งที่ช่างซ่อมรถยนต์ ร้านขายอะไหล่ยนต์ หรือแม้แต่เจ้าของรถยนต์เองก็ต้องควรรู้จักไว้เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ขาดไม่ได้  ถ้าจะพูดให้ง่ายๆ รีเลย์ก็คืออุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นสวิทช์เพื่อส่งไฟ้จากแบตเตอรี่รถยนต์ไปเลี้ยงวงจรไฟฟ้าต่างๆ

 

ในรถยนต์โดยการควบคุมจากสวิทช์อีกทีหนึ่ง  เหตุผลที่ต้องใช้รีเลย์ก็เพื่อให้กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่จะไปเลี้ยงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ นั้นผ่านรีเลย์แล้วก็ไปเลี้ยงอุปกรณ์โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านสวิทช์   ทำให้สวิทช์ไฟที่มีขนาดเล็กสามารถมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวขึ้น  หากไม่ใช้รีเลย์กระแสไฟจำนวนมากก็จะไหลผ่านสวิทช์ทั้งหมด ทำให้สวิทช์เกิดความร้อนสูงและอายุการใช้งานของสวิทช์ก็จะสั้นลง…เว็บขายส่งรีเลย์รถยนต์ [Relay] คลิ๊กที่นี่

ตัวอย่างรีเลย์
ตัวอย่างรีเลย์

วิธีการทำงานของรีเลย์

ภายในตัวรีเลย์จะมีขดลวดที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแม่เหล็ก เพื่อใช้ในการดึงดูดหน้าสัมผัสของคอนแทคให้เปลี่ยนสภาวะเปิดปิดได้  Continue reading

มาตรวัดอากาศแบบ L-Jetronic

มาตรวัดอากาศเครื่องยนต์

มาตรวัดอากาศ (สำหรับ L-Jetronic)

(1) D-Jetronic(D-EFI) เป็นระบบหัวฉีดอิเล็คทรอนิคส์แบบใช้ตัวตรวจจับแรงดันในท่อร่วมไอดี (Vacuum Sensor) แทนการใช้มาตรวัดแบบอากาศหรือ Air Flow Meter แล้วส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยัง ECU ร่วมกับสัญญาณความเร็วรอบของเครื่องยนต์ เพื่อกำหนดระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสม พบในรถฮอนด้า, รถโตโยต้า(4A-FE, 4A-GE 16 Valve, 7A-FE, 3VZ-FE, 1JZ-GTE, 2JZ-GTE เป็นต้น) รูปภาพ ไดอะแกรม

Continue reading

ระบบชาร์จไฟ หรือ ประจุไฟ [Charging System]

ระบบชาร์ทไฟในรถยนต์

ระบบชาร์จไฟ หรือ ประจุไฟ (Charging System)

อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นี้คือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เรียบทับศัทพ์ว่า อัลเตอร์เนเตอร์ (Alternator) หรือเรียกกันติดปากว่าไดชาร์ท ติดตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของเครื่องยนต์ ทำงานโดย ได้รับแรงฉุดจากสายพาน ซึ่งคล้องไปกับพูลเล่ย์ของปั้มน้ำ และพูลเล่ย์เพลาข้อเหวี่ยง เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ อัลเตอร์เนเตอร์จะเริ่มทำงานโดยการสร้างไฟฟ้ากระแสสลับออกมา โดยใช้หลักการการเหนี่ยวนำไฟฟ้า จากนั้นจะผ่านไปยัง ไดโอด (Diode) ซึ่งทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับเป็นแรงดันไฟตรง และส่งต่อให้วงจรควบคุมแรงดันไฟฟ้า หรือเร็คกูเลเตอร์ (Regulator) เพื่อให้ได้แรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสม จนออกมาได้ใช้งานกัน

หน้าที่ของอัลเตอร์เนเตอร์หรือไดชาร์ท

  • ทำการจ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ต่างๆ เช่น ระบบส่องสว่าง ระบบจุดระเบิด เครื่องเสียงรถยนต์ เป็นต้น
  • ทำการชาร์ทหรือประจุไฟให้กับแบตเตอรี่
อัลเตอร์เนเตอร์ชนิดมาตรฐาน
อัลเตอร์เนเตอร์ชนิดนี้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา มีวงจรไอซีเร็คกูเลเตอร์ประกอบอยู่ภายใน
อัลเตอร์เนเตอร์ชนิดมีปั๊มสุญญากาศ
อัลเตอร์เนเตอร์ชนิดนี้ปกติแล้วมีใช้ในเครื่องยนต์ดีเซล เนื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลไม่มีคอคอดสุญญากาศ ปั๊มสุญญากาศที่ท้ายอัลเตอร์เนเตอร์มีหน้าผลิตสุญญากาศเพื่อป้อนให้หม้อลมเบรกเพื่อช่วยผ่อนแรงเวลาเหยียบเบรก
ไอซีเร็คกูเลเตอร์ (IC regulator)
วงจรไอซี (Integrated circuits) เป็นชนิดของเร็คกูเลเตอร์ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา จะถูกติดตั้งไว้ในตัวอัลเตอร์เนเตอร์

หัวเทียนรถยนต์ (Spark Plugs)

ระบบจุดระเบิด

หัวเทียนรถยนต์ (Spark Plugs)

หัวเทียน

หัวเทียนมีหน้าที่ในการสร้างประกายไฟ เพื่อจุดระเบิดไอดี (อากาศ+น้ำมันเชื้อเพลิง) ในห้องเผาไหม้ ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 2,000 องศาเซลเซียส และมีความดันสูงกว่า 40 กิโลกรัมต่อตารางเซ็นติเมตร และได้พลังงานออกมาโดยการผลักลูกสูบให้เคลื่อนที่ ประกายไฟจะเกิดขึ้นที่ช่องว่างของเขี้ยวหัวเทียน เกิดจากไฟฟ้าแรงสูงซึ่งส่งมาจากคอยล์จุดระเบิด โดยปกติแล้วกระบอกสูบหนึ่งจะมีหัวเทียนเพียงหัวเดียว และถ้าหัวเทียนเกิดบอดไปหัวใด หัวหนึ่งรถก็ยังสามารถขับเคลื่อนได้ แต่กำลังจะลดลง

https://www.youtube.com/watch?v=9-ITPBZLnBU

ส่วนประกอบของหัวเทียน

  1. ฉนวน
  2. เขี้ยว
  3. ขั้วกราวด์ หรือขั้วดิน

เขี้ยวของหัวเทียนจะสึกตามอายุการใช้งาน ทำให้ช่องว่างของเขึ้ยวหัวเทียนกว้างขึ้น ทำให้ประกายไฟที่เกิดลดลง ในขณะเดียวกัน เขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้จะไปเกาะติดอยู่ที่ปลายฉนวนและเขี้ยวหัวเทียน ทำให้ไฟแรงสูงลัดวงจรไม่เกิดประกายไฟ ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนหัวเทียนตามระยะเวลาเพื่อ ให้การเผาไหม้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Continue reading

ระบบหัวฉีดน้ำมันแบบคอมม่อนเรล (Common Rail)

ระบบหัวฉีดน้ำมันแบบคอมม่อนเรล  (Common Rail )

คำว่าคอมม่อนเรล สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล คงจะเริ่มคุ้นหูกันมากขึ้นในระยะหลังนี้ ในขณะที่เทคโนโลยีนี้ พัฒนามากว่า 20 ปีแล้ว คอมม่อนเรล มีสภาพเหมือนเป็นรางกักเก็บเชื้อเพลิง ที่ภายในมีความดันสูงอยู่ตลอด และความดันนี้ก็จะส่งผ่านไปที่หัวฉีด เมื่อหัวฉีดได้รับสัญญาณ ก็จะเปิดให้น้ำมันดีเซล พุ่งผ่านลงไปในห้องเผาไหม้ การนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ของเครื่องยนต์ดีเซล ขึ้นจากระบบเดิมๆ รวมไปถึงระบบไดเร็คอินเจ็คชั่นด้วย ในระบบไดเร็คอินเจ็คชั่นนั้น หัวฉีดจะได้รับการจ่ายเชื้อเพลิงโดยตรง จากปั๊มหัวฉีด สำหรับในระบบคอมม่อนเรลนี้ ปั๊มจะส่งน้ำมันไปที่รางน้ำมันเชื้อเพลิงความดันสูงที่เรียกว่าคอมม่อนเรล ซึ่งความดันอาจสูงถึง 1,350 บาร์ และที่หัวฉีดจะมีการส่งสัญญาณกลับมาที่ปั๊มด้วย รวมทั้งยังมีการควบคุมจาก ECU ร่วมอยู่ด้วย ทั้งหมดจะส่งผลให้มีการใช้น้ำมัน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้เครื่องยนต์ดีเซลในระบบนี้ ประหยัดน้ำม้น และให้กำลังดีขึ้น

ระบบนี้มีใช้ในเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่มานานแล้ว ก่อนที่จะเริ่มมีการพัฒนา ให้อุปกรณ์ต่างๆ มีขนาดเล็กลง และนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับรถยนต์นั่งในปัจจุบัน เครื่องยนต์ดีเซลระบบ คอมม่อนเรล เริ่มมีวางจำหน่ายแล้งในยุโรป ดินแดนที่มีความนิยม การใช้เครื่องยนต์ดีเซลอย่างมาก ในรถยนต์นั่ง

คอมม่อนเรลเป็นระบบควบคุมการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยอีเล็คทรอนิคส์  แตกต่างจากปั๊มหัวฉีดโดยทั่วไป ประกอบด้วย

  1. ปั๊มจ่ายน้ำมัน (supply pump)
  2. รางคอมม่อนเรล (common rail)
  3. หัวฉีด (injector)
  4. เซ็นเซอร์ต่างๆ
  5. ระบบควบคุมคอมพิวเตอร์ (ECU)

1. ปั๊มจ่ายน้ำมัน (supply pump) จะถูกขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์เพื่อสร้างน้ำมันแรงดันสูงขึ้นมา

Continue reading

ฟิวส์รถยนต์[Auto Fuse]

อะไหล่ ฟิวส์ รถยนต์

ฟิวส์รถยนต์

ฟิวส์ (Fuse) มีหน้าที่ป้องกันและตัดกระแสไฟฟ้า(โดยการหลอมละลาย) เมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ตนเองมีหน้าที่คุมอยู่ เกิดความผิดปกติขึ้น ดังนั้นขนาดของฟิวส์ที่ใช้จึงต้องมีความเหมาะสมกับวงจรที่ควบคุมอยู่ จึงทำให้การทำงานของฟิวส์มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ฟิวส์จะตัดกระแสเมื่อ

  • มีการลัดวงจรเกิดขึ้น
  • มีการต่อวงจรผิด
  • กระแสไฟฟในวงจรผิดปกติ

สาเหตุที่ต้องมีฟิวส์

Continue reading

ชนิดของหลอดไฟรถยนต์[Light Bulbs]

หลอดไฟรถยนต์

หลอดไฟรถยนต์

หลอดไฟที่มีใช้ในรถยนต์

  1. หน้าที่ของหลอดไฟให้ความสว่าง
  2. บ่งบอกว่าอุปกรณ์นั้นกำลังทำงานอยู่
  3. แจ้งสัญญาณเตือนข้อผิดพลาดให้ผู้ขับทราบ
  4. แจ้งบางสิ่งบางอย่างที่ผู้ขับรถต้องการให้รถคันอื่น หรือบุคคลอื่นทราบ เช่น ไฟเบรก, ไฟเลี้ยว, ไฟถอย, ไฟฉุกเฉิน ฯลฯ
  5. ใส่เพื่อความสวยงาม

ชนิดของแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ที่ใช้

  1. แรงดันไฟฟ้า 12 โวลท์ (ใช้ในรถกะบะและรถเก๋ง สังเกตุจากแบตเตอรี่จะมีลูกเดียว)
  2. แรงดันไฟฟ้า 24 โวลท์ (ส่วนมากจะเป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่ สังเกตุจากแบตเตอรี่ที่ใช้จะมีสองลูก โดยต่ออนุกรมกัน)

หลอดไฟทั่วไปที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้แก่
Continue reading