Category Archives: ระบบจุดระเบิด

เรือนปีกผีเสื้อ (Throttle Body)

เรือนปีกผีเสื้อ

เรือนปีกผีเสื้อ(Throttle Body)

เรือนปีกผีเสื้อ จะมีลิ้นหรือวาล์วอยู่ภายในที่มีหน้าที่ปิดเปิดให้อากาศที่ผ่านไส้กรองอากาศ เข้าไปผสมกับน้ำมันในระบบคาร์บูเรเตอร์ หรือระบบหัวฉีด ด้วยแรงดูดอากาศจากการเคลื่อนที่ของลูกสูบของเครื่องยนต์ เพื่อให้ได้ปริมาณไอดีตามที่ต้องการ โดยปริมาณอากาศจะถูกควบคุบจากการเหยียบคันเร่งในขณะเร่งเครื่องหรือเบาเครื่อง และควบคุมโดยระบบรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ เพื่อไม่ไห้เครื่องยนต์ดับขณะที่ไม่ได้แตะคันเร่ง

ตัวเรือนปีกผีเสื้อ หรืออาจเรียกอีกอย่างว่า ลิ้นปีกผีเสื้อ ประกอบด้วย

  • วาล์วปีกผีเสื้อ (Throttle Valve)
  • เซนเซอร์จับตำแหน่งวาล์วปีกผีเสื้อหรือลิ้นปีกผีเสื้อ (Throttle Position Sensor) ติดตั้งอยู่ที่แกนลิ้นเร่งจะทำหน้าที่ตรวจจับสัญญานมุมการ เปิดของลิ้นเร่งและส่งสัญญานพัลส์ไปยังคอมพิวเตอร์
  • ช่องบายพาส (Bypass Passage)
  • สกรูปรับรอบเดินเบา (Idle Adjustment Screw)
  • วาล์วอากาศหรือลิ้นอากาศ (Air Valve) จะติดตั้งอยู่ภายในตัว เรือนลิ้นเร่งเพื่อทำหน้าที่ควบคุมปริมาตรของไอดีที่ไหลเข้าสู่เครื่องยนต์ ทำหน้าที่ ควบคุมการไหลของอากาศ เข้าท่อร่วมไอดีในขณะความเร็วรอบเดินเบาหรือเดินเบาที่รอบเครื่องยนต์สูง
  • ช่องสัญญาณสุญญากาศ (Vacuum Signal Ports)
  • ช่องทางเข้าและออกน้ำหล่อเย็น(Coolant) เพื่อป้องกันการจับเป็นคราบน้ำแข็งขณะที่อากาศเย็น
  • ระบบ Dashpot และ Throttle Opener

*** หมายเหตุ ในเครื่องยนต์แต่ละยี่ห้อ จะมีการออกแบบและส่วนประกอบที่แตกต่างกันไป

Continue reading

อินเตอร์คูลเลอร์ในเทอร์โบ (Intercooler)

การทำงานของอินเตอร์คูลเลอร์ (Intercooler)

การทำงานของอินเตอร์คูลเลอร์ (Intercooler)

 

อินเตอร์คูลเลอร์มีหน้าที่ระบายความร้อนของอากาศที่ผ่านมาจากเทอร์โบ โดยใช้น้ำหรืออากาศภายนอกเป็นตัวถ่ายเทความร้อนของอากาศ (Heat Exchanger) จากเทอร์โบ เมื่ออากาศเย็นลงความหนาแน่นของอากาศจะเพิ่มขึ้น พราะอุณหภูมิที่ลดลง ทำให้โมเลกุลอากาศหดตัว ที่ปริมาตรพื้นที่เท่าเดิมจะมีปริมาณโมเลกุลของเพิ่มมากขึ้น ทำให้เราสามารถเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ได้มากขึ้นหากเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไป

Continue reading

หัวเผาเครื่องยนต์ (Glow Plug)

หัวเผาเครื่องยนต์

การทำงานของหัวเผาในรถยนต์ (Glow Plug)

หัวเผาเป็นลักษณะของไส้ความร้อน ที่ทำงานโดยอาศัยกระแสไฟที่ได้จากแบตเตอรี่ เพื่อทำให้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้น เพื่อให้เกิดการจุดระเบิดได้ง่ายในขณะเครื่องเย็น โดยจะถูกติดตั้งที่กระบอกสูบของทุกสูบ

Continue reading

การตรวจสอบระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์ (ignition system)

ระบบจุดระเบิดในรถยนต์

การตรวจสอบระบบจุดระเบิดแบบจานจ่าย

ระบบจุดระเบิดแบบจานจ่าย ประกอบด้วย สวิทซ์จุดระเบิด คอยส์จุดระเบิด สายไฟแรงต่ำ สายไฟแรงสูง จานจ่ายไฟ และหัวเทียน ชิ้นส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบขึ้นเป็นกลไกสำหรับทำให้เกิดประกายไฟที่จังหวะอันเหมาะสม ระบบจุดระเบิดไม่ทำงานมักพบเสมอในเมื่อเครื่องยนต์ขัดข้อง ถ้าเครื่องยนต์ไม่ติดเมื่อมอเตอร์สตาร์ทหมุนและมีน้ำมันเพียงพอ จงตรวจสอบดูระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์

Continue reading

ระบบจุดระเบิดในรถยนต์ (ignition system)

ระบบจุดระเบิดในรถยนต์

ระบบจุดระเบิดในเครื่องยนต์เบนซิน (ignition system)

หน้าที่ของระบบจุดระเบิดคือ การจ่ายประกายไฟเพื่อจุดระเบิดไอดีภายในกระบอกสูบตามจังหวะการจุดระเบิดที่เหมาะสมของเครื่องยนต์ องค์ประกอบที่ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างสมบูรณ์เต็มประสิทธิภาพ

  • กำลังอัดของเครื่องยนต์สูง
  • จังหวะจุดระเบิดเหมาะสมและประกายไฟแรง
  • ส่วยผสมน้ำมันกับอากาศดี
  • การทำงานของระบบจุดระเบิดที่ดี
  • ประกายไฟแรง แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะต้องสูงพอสามารถจุดประกายไฟระหว่างเขี้ยวหัวเทียนได้

จังหวะการจุดระเบิดที่เหมาะสม ต้องมีระยะเวลาในการจุดระเบิดที่เหมาะสมกับความเร็วรอบของเครื่องยนต์ และภาระ มีความทนทาน ต้องมีความทนทานต่อการสั่นสะเทือนและความร้อนของเครื่องยนต์ ชนิดของระบบจุดระเบิด ในปัจจุบันนี้เราอาจแบ่งระบบจุดระเบิดได้เป็น 2 กลุ่มคือ

  1. ระบบจุดระเบิดทั่วไปที่ไม่ได้ควบคุมด้วย ECU
    1. ระบบจุดระเบิดแบบใช้หน้าทองขาว
    2. ระบบจุดระเบิดกึ่งทรานซิสเตอร์ (ใช้ทรานซิสเตอร์ทำงานร่วมกับหน้าทองขาว)
    3. ระบบจุดระเบิดแบบใช้ทรานซิสเตอร์ล้วน
    4. ระบบจุดระเบิดแบบรวม (integrated ignition assembly)
    5. ระบบจุดระเบิดแบบ CDI
  2. ระบบจุดระเบิดที่ควบคุมด้วยระบบ ECU
    1. ระบบจุดระเบิดแบบใช้ตัวช่วยจุดระเบิดที่ควบคุมจาก ECU
    2. ระบบจุดระเบิดแบบไม่มีจานจ่าย

Continue reading

ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงสตาร์ทเย็น

ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงสตาร์ทเย็น (Cold Start Injection System)

เนื่องจากในขณะที่เครื่องยนต์มีอุณหภูมิต่ำนั้นต้องการอัตราส่วนผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่หนากว่าปกติ ดังนั้นในขณะที่เครื่องยนต์มีอุณหภูมิต่ำเครื่องยนต์จะได้รับน้ำมั้นเชื้อเพลิงเพิ่มเติมจากหัวฉีดสตาร์ทเย็น โดยการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในท่อร่วมไอดี การทำงานของหัวฉีดสตาร์ทเย็นจะถูกควบคุมจากสวิตช์ควบคุมเวลาหัวฉีดสตาร์ทเย็น (Cold Start Injector Time Switch) โดยใช้ความร้อนจากน้ำหล่อเย็นทางด้านออกจากเครื่องยนต์และความร้อนจากขดขวดความร้อน เป็นตัวกำหนด

หัวฉีดสตาร์ทเย็นแตกต่างจากหัวฉีดหลักตรงที่หัวฉีดสตาร์ทเย็นไม่ได้ใช้เข็มหัวฉีด

Continue reading

การจุดระเบิดตัวเองในเครื่องยนต์ดีเซลคืออะไร

การจุดระเบิดตัวเองในเครื่องยนต์ดีเซล

การจุดระเบิดตัวเองในเครื่องยนต์ดีเซลคืออะไร

ในเครื่องยนต์ดีเซลไม่ได้ทำงานโดยอาศัยการจุดระเบิดของหัวเทียน แต่ทำงานโดยอาศัยการจุดระเบิดตัวเอง (self-ignition) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติเหมือนกับที่น้ำมันติดไฟเมื่ออุณหภมิของมันเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ได้จุดไฟ ดังนั้นถ้าเราเทน้ำมันดีเซลลงไปบนภาชนะที่เป็นแผ่นเหล็กที่ร้อนมันก็เกิดการติดไฟและเผาไหม้ขึ้น อุณหภูมิที่ทำให้น้ำมันดีเซลติดไฟได้เรียกว่า ignition point ในเครื่องยนต์ดีเซลทำการจุดระเบิดโดยใช้การอัดอากาศในกระบอกสูบให้มีอุณหภูมิสูงกว่า ignition point นี้ ดังนั้นน้ำมันดีเซลจึงเกิด self-ignition ขึ้นและเกิดการเผาไหม้และจุดระเบิดขึ้น

เครื่องยนต์ดีเซล
เครื่องยนต์ดีเซล

อัตรส่วนผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซไอเสีย

ไอดี คืออัตราส่วนผสมระหว่าน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศมีสถานะเป็นก๊าซ

คาร์บูเรเตอร์ มีหน้าที่จัดสรรน้ำมันเชื้อเพลิงให้ผสมกับอากาศเปล่า ๆ เพื่อเป็นไอดีประจุเข้าสู่กระบอกสูบให้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ อัตราส่วนผสมของไอดีอาจแตกต่างกันไปบ้าง ถ้าต้องการกำลังสูงสุดก็อาจจะไม่ค่อยประหยัด หรือถ้าต้องการประหยัดก็ต้องยอมเสียกำลัง

Continue reading