Category Archives: ระบบควบคุมรถยนต์ ECU

EGR (Exhaust Gas Recirculation) หรือการหมุนเวียนไอเสีย

ระบบ EGR รถยนต์

ระบบ EGR (Exhaust Gas Recirculation) หรือระบบการหมุนเวียนไอเสีย

ระบบ EGR เป็นการนำไอเสียมาวนเข้าท่อไอดีใหม่อีกครั้ง เพื่อที่จะลดค่าออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX) ซึ่งเป็นแก๊สพิษให้มีปริมาณลดลงก่อนปล่อยไอเสียออกจากเครื่องยนต์ เพื่อลดมลพิษในอากาศของโลกเรา

NOX เกิดจากการที่ ไนโตรเจนกับออกซิเจนในอากาศ มาคลุกเคล้ารวมตัวกันแล้วเกิดการเผาไหม้ในลูกสูบ ในช่วงอุณหภูมิการเผาไหม้สูงกว่า 1,800 C(3,300 F)  แก๊สทั้งสองนี้จะรวมตัวกันได้ดีมากในขณะที่มีอุณหภูมิการเผาไหม้สูง และมีการเผาไหม้สมบูรณ์ จึงได้มีการคิดค้นระบบหมุนเวียนไอเสียหรือ EGR ขึ้นมาเพื่อลดแก๊ส NOX   โดยกล่อง ECU จะรับข้อมูลมาจากเซนเซอร์ต่างๆ ทั้ง อุณหภูมิแก๊สไอเสีย ส่วนผสมหนาบาง และอื่นๆอีก แล้วมาประมวลผล ซึ่งถ้า ECU ตรวจพบว่าสภาวะการเผาไหม้อาจก่อให้เกิด NOได้ ก็จะส่งสัญญาณไปสั่งให้ EGR เปิดวาล์ว เพื่อให้แก๊สไอเสียบางส่วนไหลกลับเข้าไปเผาไหม้ซ้ำอีกครั้ง

รูปที่1

ตัวอย่างการทำงานของระบบ EGR  ในรูปเป็นระบบ EGR ของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน หรือเครื่องยนต์เบนซิน ใช้ลิ้นสวิตช์สุญญากาศควบคุม (แต่รุ่นใหม่มักใช้มอเตอร์แบบขั้นหรือ Stepper Motor) ขณะยังไม่ได้ทำงาน ลิ้น EGR จะยังไม่เปิด แต่ถ้าเครื่องยนต์มีความเร็วรอบต่ำกว่า 4,000 rpm อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นสูงกว่ากำหนดไว้ (ในบางรุ่น 50 – 56 o ซ.) และลิ้นเร่งเปิดถึงระดับ ระบบ ECU จะควบคุมให้ลิ้น EGR ทำงาน Continue reading

วาล์วตูดปั๊มคอมมอนเรล หรือ suction control valve (SCV)

ระบบหัวฉีดน้ำมันดีเซล

วาล์วตูดปั๊มคอมมอนเรล หรือสวิทช์ตูดปั๊มคอมมอนเรล หรือ SCV VALVE

สวิทส์ตูดปั๊มคอมมอนเรล หรือ SCV VALVE
สวิทช์ตูดปั๊มคอมมอนเรล หรือ SCV VALVE

เป็นอะไหล่รถยนต์ที่เราควรรู้จักกันอีกชิ้นหนึ่ง ในยุคเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล

ในขณะที่น้ำมันถูกดูดจากถังน้ำมัน(Fuel Tank) ก็จะถูกส่งผ่านผ่านกรองดีเซล(Fuel Filter) และไหลเข้าสู่ลูกสูบปั๊มคอมมอนเรล เพื่อสร้างแรงดันสะสมในรางคอมมอนเรล(Common Rail)

วาล์วตัวนี้มีหน้าที่ควบคุมปริมาณการจ่ายน้ำมันเข้าสู่ลูกสูบปั๊มคอมมอนเรล โดยการควบคุมสัญญาณจาก ECU (Control Unit)

อาการที่อาจพบในขณะที่ SCV  ทำงานผิดปกติ

  • วูบ เร่งไม่ขึ้น ดับกลางอากาศ  ขณะกดคันเร่งแซง  และไฟรูปเครื่องโชว์
  • สตาร์ทติดยาก เครื่องสั่น เบาดับ เข็มวัดรอบแกว่ง
  • ขึ้นเนินลาดชันแล้วดับ

เซนเซอร์ความเร็วรถยนต์ (Speed Sensor)

เซนเซอร์ความเร็วรถยนต์ (Speed Sensor)

เซนเซอร์ตำแหน่ง/ความเร็วรถยนต์ (Position/Speed Sensor)

เซนเซอร์นี้มีหน้าที่ส่งสัญญาณตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง ตำแหน่งเพลาราวลิ้น ความเร็วรถยนต์ไปให้กับ ECU/ECM  ประกอบด้วยเซนเซอร์ดังนี้

  • เซนเซอร์ตำแหน่งเพลาราวลิ้น/G Pickup Coil  (สัญญาณ G)
  • เซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง/NE Pickup Coil (สัญญาณ NE)
  • เซนเซอร์ความเร็วรถยนต์/Speed Sensor (สัญญาณ SPD)

เพื่อใช้ในการตัดการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง(Fuel Cut Off) ควบคุมความเร็วรอบเดินเบา(Idle Speed Control) และควบคุมอัตราส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงในขณะเร่งเครื่องหรือผ่อนคันเร่ง
Continue reading

ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงสตาร์ทเย็น

ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงสตาร์ทเย็น (Cold Start Injection System)

เนื่องจากในขณะที่เครื่องยนต์มีอุณหภูมิต่ำนั้นต้องการอัตราส่วนผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่หนากว่าปกติ ดังนั้นในขณะที่เครื่องยนต์มีอุณหภูมิต่ำเครื่องยนต์จะได้รับน้ำมั้นเชื้อเพลิงเพิ่มเติมจากหัวฉีดสตาร์ทเย็น โดยการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในท่อร่วมไอดี การทำงานของหัวฉีดสตาร์ทเย็นจะถูกควบคุมจากสวิตช์ควบคุมเวลาหัวฉีดสตาร์ทเย็น (Cold Start Injector Time Switch) โดยใช้ความร้อนจากน้ำหล่อเย็นทางด้านออกจากเครื่องยนต์และความร้อนจากขดขวดความร้อน เป็นตัวกำหนด

หัวฉีดสตาร์ทเย็นแตกต่างจากหัวฉีดหลักตรงที่หัวฉีดสตาร์ทเย็นไม่ได้ใช้เข็มหัวฉีด

Continue reading

มาตรวัดอากาศแบบ Flap

มาตรวัดอากาศเครื่องยนต์

มาตรวัดอากาศแบบ Flap

มาตรวัดการไหลของอากาศ หรือ air flow meter ทำหน้าที่วัดปริมาณอากาศที่ไหลผ่านท่อไอดีและเปลี่ยนปริมาณอากาศเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า เพื่อไปบอก ECU ว่ามีปริมาณอากาศไหลผ่านมากแค่ไหน โดย ECU จะนำสัญญาณนี้ไปประมวณผลหาปริมาณการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงของหัวฉีด

มาตรวัดการไหลของอากาศแบบใช้แผ่นวัด (Vane or Flap air flow sensor/meter (AFM) ) มักพบในรถโตโยต้า เช่น 3T-GTE, 1G-GTE, 3S-GTE, รถ Mazda BP(Astina) เป็นต้น มีหลักการทำงานดังนี้

  • ทำงานโดยอาศัยการเปลี่ยนค่าความต้านทานเป็นสํญญาณแรงดันไฟฟ้าแล้วส่งไปให้ ECU
  • แรงดันจะอยู่ในระดับประมาณ 5 V. เมื่อไม่มีอากาศไหลผ่านแอร์โฟว์ และเมื่อมีอากาศไหลผ่านก็จะทำให้แรงดันไฟฟ้าลดลง ตามปริมาณอากาศที่ไหลผ่าน โดยจะเข้าใกล้ 0V เมื่อมีอากาศไหลผ่านมากๆ

มาตรวัดอากาศแบบ Flap ประกอบด้วย

  • แผ่นวัด (Measuring Plate)
  • สปริงดันกลับ (Return Spring)
  • ตัวแปลงสัญญาณ (Potentiometer)
  • ห้องป้องกันการกระเพื่อน (Dammping Chamber)
  • แกนเลื่อน (Slider)
  • ช่องระบาย (Air By-Pass Passage)
  • แผ่นชดเชย (Compensation Plate)
  • สกรูปรับส่วนผสมเดินเบา (Idle Mixture Adjusting Screw)

Continue reading

ระบบปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหัวฉีดอีเล็กทรอนิคส์ (electronic fuel injection sytem)

ระบบปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหัวฉีดอีเล็กทรอนิคส์

ตัวอย่างปั้มเชื้อเพลิงที่ใช้ในเครื่องยนต์ระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิคส์ (EFI) ของโตโยต้า

ปั้มเชื้อเพลิงแบบไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องยนต์ที่ใช้ระบบฉีดเชื้อเพลิงด้วยอิเล็กทรอนิคส์ มีใช้อยู่ 2 แบบ

1. ปั้มเชื้อเพลิงแบบโรเลอร์ (Roller Cell Pump) หรือปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบลูกกลิ้ง ปั๊มชนิดนี้ออกแบบมาสำหรับติดตั้งไว้นอกถังน้ำมันเชื้อเพลิง

Continue reading

ระบบควบคุมรอบเดินเบา (ISCV)

ระบบควบคุมรอบเดินเบา ISCV

ระบบควบคุมรอบเดินเบา ISCV (Idle Speed Control Valve) หรือ IACV (Idle Air Control Valve)

เป็นระบบควบคุมความเร็วรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงปริมาตรของอากาศที่ผ่านทางช่องระบายของลิ้นเร่ง โดยมันจะทำการเพิ่มหรือลดปริมาตรอากาศตามสัญญาณที่ได้รับจาก ECU ของเครื่องยนต์ เมื่อตัว ISCV นี้เกิดความผิดปกติ จะมีอาการรอบเดินเบาไม่นิ่ง สวิงขึ้นๆลงๆ ไม่คงที่แม้ขณะเร่งก็จะมีอาการสะดุด เครื่องเดินไม่เรียบ

Continue reading

มาตรวัดอากาศแบบ Hot Wire [Hot wire Flow Sensor]

มาตรวัดมวลอากาศ (Mass Air Flow(MAF) Sensors)

มาตรวัดมวลอากาศ(MAF) หรือเซนเซอร์วัดมวลอากาศ ทำหน้าที่เปลี่ยนปริมาณอากาศที่ไหลเข้าเครื่องยนต์เป็นสัญญาณแรงดันไฟฟ้า ระบบ ECU ใช้สัญญาณนี้ในการควบคุมภาระของเครื่องยนต์ ปริมาณน้ำมันที่จะต้องฉีด จังหวะในการจุดระเบิด และเวลาที่จะต้องเปลี่ยนเกียร์  โดยจะติดตั้งอยู่ระหว่างหม้อกรองอากาศและวาล์วปีกผีเสื้อ

Continue reading

มาตรวัดอากาศแบบ L-Jetronic

มาตรวัดอากาศเครื่องยนต์

มาตรวัดอากาศ (สำหรับ L-Jetronic)

(1) D-Jetronic(D-EFI) เป็นระบบหัวฉีดอิเล็คทรอนิคส์แบบใช้ตัวตรวจจับแรงดันในท่อร่วมไอดี (Vacuum Sensor) แทนการใช้มาตรวัดแบบอากาศหรือ Air Flow Meter แล้วส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยัง ECU ร่วมกับสัญญาณความเร็วรอบของเครื่องยนต์ เพื่อกำหนดระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสม พบในรถฮอนด้า, รถโตโยต้า(4A-FE, 4A-GE 16 Valve, 7A-FE, 3VZ-FE, 1JZ-GTE, 2JZ-GTE เป็นต้น) รูปภาพ ไดอะแกรม

Continue reading

ปั๊มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงควบคุมด้วยอีเล็คทรอนิคส์ [EFI Control]

ปั๊มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงควบคุมด้วยอีเล็คทรอนิคส์ [Electronic Fuel Injection Control]

ก่อนที่จะเข้าเรื่องระบบหัวฉีดอิเล็คทรอนิคส์ เรามาดูระบบคาร์บูเรเตอร์กันก่อน

เครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ ก่อนจะพัฒนามาเป็นหัวฉีดอิเล็คทรอนิคส์นั้น รถยนต์ยุคแรกๆ นั้นเครื่องยนต์ใช้ระบบคาร์บูเรเตอร์ในการจ่ายน้ำมันให้กับเครื่องยนต์ โดยใช้หลัการของคอคอด (Venturi) ในการดึงน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้องลูกลอยผ่านนมหนู (Jet) ด้วยสุญญากาศ โดยปริมาณของน้ำมันถูกควบคุม จาก

  1. ปริมาณของอากาศ ที่เครื่องยนต์ดูดผ่านคาร์บูเรเตอร์
  2. ขนาดของนมหนู
  3. ขนาดของคอคอด (Venturi) ถ้าคอคอดมีขนาดเล็กก็จะทำให้อากาศไหลผ่านด้วยความเร็วสูงขึ้น และทำให้เกิดสุญญากาศไปดึงน้ำมันเพิ่มมากขึ้น

Continue reading