หลอดไฟรถยนต์
หลอดไฟที่มีใช้ในรถยนต์
- หน้าที่ของหลอดไฟให้ความสว่าง
- บ่งบอกว่าอุปกรณ์นั้นกำลังทำงานอยู่
- แจ้งสัญญาณเตือนข้อผิดพลาดให้ผู้ขับทราบ
- แจ้งบางสิ่งบางอย่างที่ผู้ขับรถต้องการให้รถคันอื่น หรือบุคคลอื่นทราบ เช่น ไฟเบรก, ไฟเลี้ยว, ไฟถอย, ไฟฉุกเฉิน ฯลฯ
- ใส่เพื่อความสวยงาม
ชนิดของแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ที่ใช้
- แรงดันไฟฟ้า 12 โวลท์ (ใช้ในรถกะบะและรถเก๋ง สังเกตุจากแบตเตอรี่จะมีลูกเดียว)
- แรงดันไฟฟ้า 24 โวลท์ (ส่วนมากจะเป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่ สังเกตุจากแบตเตอรี่ที่ใช้จะมีสองลูก โดยต่ออนุกรมกัน)
หลอดไฟทั่วไปที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้แก่
- หลอดความร้อน (Incandescent Bulb) ซึ่งหลอดไฟชนิดนี้ เมื่อจ่ายกระแสไฟให้ไส้หลอด (Filament) ซึ่งทำจากลวดทังสเตน จะเกิดความร้อนขึ้น เมื่อไส้หลอดเกิดความร้อนก็จะทำให้เกิดแสงสว่างขึ้นมา (เช่นเดียวกับที่เราเห็นจากเตาไฟฟ้าแบบขดลวดนั่นแหละครับ) และโดยปกติแล้วภายในหลอดชนิดนี้จะเป็นสุญญากาศ (เพื่อป้องกันการเผาไหม้จนเกิดความร้อนสูงเกินควบคุม) หรืออาจจะบรรจุก๊าซเฉื่อยเช่น ก๊าซอาร์กอนไว้ภายในเพื่อช่วยลดคราบเขม่าที่เกิดจากโลหะทังสเตนมาจับผิวด้านใน
- หลอดฮาโลเจน (Halogen Bulb) คือหลอดที่ไฟถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการรักาความสว่างเอาไว้ได้จนหมดอายุการใช้งานของหลอดไฟ หลอดแบบนี้จะบรรจุด้วยก๊าซฮาโลเจนเพื่อให้เกิดวงจรฮาโลเจน (Halogen Cycle)
กล่าวคือ อนุภาคของทังสเตน (W) ที่เกิดขึ้นและเคลื่อนตัวไปใกล้หลอดแก้วจะไปรวมตัวกับก๊าซฮาโลเจน (X) และเคลื่อนตัวโดยความร้อนภายในหลอดไฟไปยังไส้หลอด เมื่ออนุภาคที่รวมตัวกันเคลื่อนตัวเข้าใกล้ใส้หลอดไฟอนุภาคของทังสเตนก็จะไปจับกับไส้หลอดหรือขาหลอดไฟ (Stem) ส่วนอนุภาคของก๊าซฮาโลเจนก็จะเคลื่อนตัวไปยังผิวของหลอดแก้วเพื่อรวมตัวกับอนุภาคของทังสเตนต่อไป เป็นวงจรอย่างนี้เรื่อย ๆ การทำงานแบบนี้จะทำให้อนุภาคที่รวมตัวกันเกาะที่ผิวหลอดบ้าง แต่อนุภาคที่รวมตัวกันนี้เป็นสารกึ่งโปร่งแสงจึงส่งผลกระทบต่อความสว่างน้อยมาก การทำให้เกิดวงจรฮาโลเจนนี้จะต้องรักษาอุณหภูมิของหลอดแก้วให้คงที่ประมาณ 250 องศาเซลเซียสจึงจำเป็นต้องใช้แก้วชนิดพิเศษในการผลิตหลอดแบบนี้ นอกจากนั้น ความดันของก๊าซเฉื่อยภายในหลอดแก้วและไส้หลอดก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดวงจรได้สมบูรณ์ - หลอด HID โดยรู้จักกันในนามของหลอด “ซีนอน” (Xenon) เนื่องจากภายในบรรจุเอาไว้ด้วยก๊าซซีนอน หลอดไฟชนิดนี้ถูกนำมาใช้ในรถยนต์ครั้งแรกในปี 1992 ในยุโรป หลอดชนิดนี้จะแตกต่างไปจากชนิดอื่นๆ ที่ใช้ใส้หลอดทำจากโลหะทังสเตนในการทำให้เกิดแสงสว่าง โดยหลอด HID จะทำให้เกิดแสงสว่างด้วยการผ่านกระแสไฟแรงสูง (หลอด HID จะต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการเพิ่มกระแสไฟ 12 โวลท์ ให้สูงขึ้นไปถึง 20,000-25,000 โวลท์) ไปยังขั้วของตัวนำที่ทำจากโลหะทังสเตนซึ่งจะทำให้เกิดการกระโดดของอิเลคตรอนระหว่างขั้วของตัวนำ อาจจะเปรียบได้กับการกระโดดของไฟที่เขี้ยวหัวเทียนหรือการสปาร์คที่เกิดจากการเชื่อมไฟฟ้านั่นเอง อิเล็คตรอนนี้จะทำปฏิกิริยากับก๊าซซีนอนที่ถูกบรรจุอยู่ภายในหลอดแก้วทำให้เกิดแสงสว่างขึ้น โดยหลอด HID นี้จะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดฮาโลเจนธรรมดา 2-2.5 เท่า แต่ในขณะเดียวกันสามารถประหยัดพลังงานมากกว่าถึง 25% และยังให้สีของแสงที่เกิดขึ้นใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์จึงช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น และการที่ไม่ใช้ไส้หลอดจึงทำให้อายุการใช้งานของหลอดยาวขึ้นด้วยเช่นกัน
หลอดไฟในรถยนต์
1. หลอดไฟหน้า (มาตรฐาน 60/55 วัตต์ สำหรับรถญี่ปุ่นทั่วไป)
2. หลอดไฟหรี่
3. หลอดไฟหน้าปัดท์
4. หลอดไฟถอย ( 21 หรือ 23 วัตต์)
5. หลอดไฟเลี้ยว ด้านท้ายและด้านหน้า (21 หรือ 23 วัตต์)
6. หลอดไฟเลี้ยว ด้านข้าง (ประมาณ 5 วัตต์)
7. หลอดไฟเบรก-หรี่ (ประมาณ 21/5 หรือ 23/8 วัตต์)
8. หลอดไฟสปอร์ตไลท์ หรือไฟตัดหมอก (มาตรฐาน 55 วัตต์)
9. หลอดไฟส่องสว่างในเก๋ง (ประมาณ 10 วัตต์)
10. หลอดไฟส่องป้ายทะเบียน (ประมาณ 5 วัตต์)
มาตรฐานหลอดไฟรถยนต์
หลอดไฟฮาโลเจน (HALOGEN)
- H1 หลอดชนิดนี้จะใช้อยู่กับรถยุโรปเช่นพวกรถ BMW และพวกรถญี่ปุ่นรุ่นใหญ่ ๆ
- H3 โดยมากใช้ในไฟสปอร์ตไลท์ที่ติดเพิ่มเข้าไป
- H3C
- H4 เป็นหลอดไฟหน้าที่รถส่วนใหญ่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ชั้นบนของไส้หลอดจะมีฝาครอบกันไว้ด้านหนึ่ง (เจ้าฝาครอบตัวนี้ มีไว้สำหรับบังแสงไฟไม่ให้กระจายเต็มพื้นที่ในโคมไฟจึงทำให้แสงที่ผ่านโคมไฟออกมามีเพียงครึ่งเดียวกลายเป็นไฟต่ำนั่นเอง) ส่วนชั้นล่างมีเฉพาะขดลวดเท่านั้น(ไฟสูง) ไม่มีฝาครอบ ด้านนอกมีสามขาสำหรับไฟ สูง/ต่ำ และขั้วดิน (-)
- H7 จะมีใช้ในรถ MERCEDES-BENZ ตากลมหรือรถ BMW
ข้อควรระวังในการเปลี่ยนหลอดไฟ
- แรงดันไฟฟ้า (โวลท์) ต้องมีขนาดเท่าเดิม)
- ควรใช้ผ้าจับขณะถอด (ในกรณีที่เป็นหลอดไฟแบบเขี้ยว หรือ เสียบ)
- สำหรับหลอดไฟชนิด ฮาโลเจน อย่าจับตัวหลอดแก้วให้จับที่ขาแทน หากจับตัวหลอดแก้วควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ และระมัดระวังอย่าให้แตก เพราะภายในหลอดบรรจุแก๊ส อาจจะกระเด็นเข้าตาได้
- ขั้วที่เป็นสนิม ควรทำความสะอาดก่อนใส่
- หลังจากเปลี่ยนหลอดไฟแล้ว ถ้ามีฝาปิด อย่าขันแน่นเกินไป (จะทำให้ฝาแตก)
- ระวังขั้วที่ฐานใส่หลอดไฟ อย่าให้ลัดวงจร
- ในรถบางรุ่นจะมีสัญญาณเตือนเมื่อหลอดไฟเบรกขาด ไฟเตือนจะดับเมื่อเปลี่ยนหลอดไฟใหม่
คำเตือน
- ห้ามใช้รถในเวลากลางคืนขณะที่หลอดไฟหน้าไม่ติด
- ไม่ควรใช้รถถ้า หลอดไฟเบรก, หลอดไฟเลี้ยวไม่ติด
- ไม่ควรเปลี่ยนสีหลอดไฟเบรก, ไฟเลี้ยว เพราะทำให้สับสน และผิดกฎหมาย
- หลอดไฟหน้าควรได้รับการปรับแต่งให้ส่องสว่างในตำแหน่งที่ถูกต้อง
กฎหมายกำหนดเอาไว้ใน พรบ.รถยนต์ พศ.2522 ได้กล่าวถึงเรื่องของโคมไฟส่องสว่างหน้ารถจะต้อง
- มีจำนวน 2 ดวงติด อยู่ข้างซ้ายขวาข้างละดวง
- เป็นชนิดแสงพุ่งไกลใช้ไฟแสงขาว เท่านั้น
- และต้องติดตั้งในระดับสูงวัดจากพื้นถึงจุดกึ่งกลางของโคมไฟไม่น้อยกว่า 60 ซม. และไม่เกิน 1.35 เมตร ส่วนโคมไฟต่ำจะใช้ข้อบังคับเดียวกันและอนุญาตให้รวมอยู่ในดวงเดียวกันก็ได้ (สำหรับโคมไฟแสงพุ่งไกลและพุ่งต่ำ
- การเปลี่ยนหลอดไฟให้มีสีผิดไปจากที่กำหนดถือว่ามีความผิด หลอดไฟจะเป็นหลอดที่มีกำลังไฟ 60/55 W โดยจะแบ่งเป็นสองไส้ ไฟสูงจะใช้ 60 W และไฟต่ำจะอยู่ที่ 55 W
หลอดไฟหน้าจะมีอยู่หลายลักษณะ ตามมาตรฐานต่างๆ เช่น H1,H2,H3,H4,HB3,HB4 ซึ่งจะแตกต่างกันตามลักษณะของขั้วหลอดและรูปทรง
- หลอดไฟมาตรฐาน H4
- หลอดไฟมาตรฐาน H3
- หลอดไฟมาตรฐาน H7
- หลอดไฟมาตรฐาน H1
- หลอดไฟมาตรฐาน HB4
หลอดไฟส่องสว่างอื่นๆ
- #158, T10
- #93
#1016
#53
ขอบคุณคับ